enneagramthailand.org

คุณเมธี จันทรา

บ่ายวันหนึ่ง เมธี ปลีกเวลาว่าง นั่งลงคุยกับลานนพลักษณ์อย่างเป็นกันเอง


ก่อนอื่นช่วยย้อนอดีตของตัวเองตั้งแต่เด็กให้ฟังหน่อย 
เมธี:  สมัยเด็กใช้ชีวิตอยู่กับยายที่จังหวัดลำปาง เด็กๆ คิดถึงแม่เพราะว่าพ่อกับแม่ย้ายไปอยู่ประเทศลาว ที่นั่นไม่มีโรงเรียน พ่อจึงเอามาฝากให้อยู่กับยาย อยู่บ้านใกล้วัดและเป็นชุมชนเก่า เป็นเด็กผู้ชายที่ซนและดื้อมากๆ ผู้ใหญ่ก็ตีตามประสาคนแก่ ช่วงที่เรารู้สึกเหงา รู้สึกแย่ๆ เราจะไปนั่งอยู่ที่แม่น้ำคนเดียว แม่น้ำวังเวลาหน้าแล้งน้ำจะแห้ง  สลับกับลึกเป็นช่วงๆ เป็นหาดทราย สวยมากๆ เราจะไปนั่งอยู่บนเกาะกลางแม่น้ำคนเดียว ปั้นลูกทรายเล่น ธรรมชาติคงบอกเรา ฝึกเราโดยไม่รู้ตัว

เป็นคนชอบอ่านมาแต่เด็ก อ่านนิยาย การ์ตูน นิทาน มีน้าคนนึงเป็นครูเขาชอบเล่านิทานให้ฟังแต่เด็ก และเป็นคนปลูกฝังให้เราอ่านหนังสือ ทำให้คิดเป็น และขณะเดียวกันความรู้สึกเราก็แรงเท่าๆ กับสิ่งที่คิด

พอโตมาช่วงเป็นวัยรุ่น ได้ไปใช้ชีวิตอยู่ประเทศอินโดนีเซียช่วงหนึ่ง ตอนนั้นพ่อซึ่งทำงานกระทรวงต่างประเทศ ย้ายไปอยู่อินโดนีเซีย เราอยู่ที่นี่คนเดียวก็เกเร  เขาเลยให้ไปอยู่ที่โน่นด้วยกัน คงกลัวว่าอยู่เมืองไทยจะไปกันใหญ่ จริงๆ ก็เป็นตามประสาวัยรุ่น ไม่ได้เกเรอะไรมากแค่เพื่อนเยอะ และวัดไทยที่นั่นจะไม่ค่อยมีเด็กผู้ชาย เขาเลยขอให้เราเป็นลูกศิษย์พระ เวลาพระไปธุระระหว่างเมือง ซึ่งจะมีวัดพุทธอยู่ตามเมืองต่างๆ ในหลายๆ เมือง เราก็จะไปกับพระ คอยช่วยถือของ ช่วยจ่ายเงินให้พระ แต่ที่อินโดนีเซียหาที่เรียนยาก จึงกลับมาเมืองไทย มาเจอเพื่อนๆ ก็ลืมเรื่องนี้ไป 
จนเข้ามหาวิทยาลัย ทางบ้านอยากให้เรียนแบบที่ทำงานได้ เขาอยากให้เรียนนิติศาสตร์ เราก็ไปเรียนอยู่ 1-2 ปีได้ (ไปเรียนด้วย!) เราไม่ชอบเลย  จึงไปเลือกคณะที่สอนปรัชญาเพราะอยากเรียนเกี่ยวกับปรัชญาตะวันออกทั้งหมด ก็ไปเรียนคณะมนุษยศาสตร์ ซึ่งตอนนั้นไม่มีวิชาเอกปรัชญาแต่เป็นเอกอื่นๆ เลยต้องเลือกเอกวรรณกรรม ซึ่งมีวิชาโทเป็นปรัชญา ทำให้ได้อ่านวรรณกรรมที่เป็นชิ้นเอก แต่ยังรู้สึึกว่ามันไม่ตรง ยังอยากทำอะไรบางอย่างอยู่

 

ทำไมจึงสนใจปรัชญา 
เมธี: บอกไม่ถูก มันเป็นมาแต่เด็ก ตอนอายุ 9 ขวบ เขียนกลอนเป็นครั้งแรก ไม่รู้ว่าเขียนเป็นหรือไม่เป็น แต่พอเขียนออกมาแล้ว มันเขียนได้ และจำติดอยู่ทุกวันนี้เลย

  
  เห็นแสงเทียนส่องกระจ่างสว่างทั่ว
ไม่หมองมัวกลับแจ่มแจ้งแสงสดใส
แต่ดวงใจยังมืดมัวอยู่ทั่วไป
ทำอย่างไรจะให้แจ้งดั่งแสงเทียน  
    

บอกไม่ได้ว่าทำไมมันจึงสนใจ อาจเพราะเราเห็นอะไรแล้วมันสะท้อนตกอยู่ที่ตัวเราก็ได้ ตอนนั้นเล่นดนตรีเป็นแล้ว เล่นดนตรีในโรงเรียนตั้งแต่มัธยม เป็นหัวหน้าวงดุริยางค์ พอโตมาก็เล่นวงสตริงของโรงเรียน แต่ก็ไม่เคยคิดว่าจะเป็นนักดนตรี เพราะตอนนั้นแวดวงดนตรีในบ้านเรายังไม่มีอะไรที่ชัดเจน ยังไม่รู้สึึกเลยว่ามันจะมีหลักการหรือเป้าหมายชัดๆ ว่าจะทำอย่างไร เป็นนักดนตรีในตอนนั้นก็คือต้องแกะเพลงของต่างประเทศ แล้วเอาไปเล่นในคลับในบาร์ ซึ่งเรารู้สึึกว่าจะทำอย่างนั้นไปทำไม ไม่เห็นมันจะสนองตอบด้านลึกอะไรของเราได้เลย

พอดีมีเพื่อนที่เราไม่เจอกันมานาน กลับมาเจอกันก็งงว่า เมื่อก่อนเขาเล่นดนตรีไม่เป็นเลย แต่พอมาเจอกันครั้งนี้เขาเก่งผิดไปเลย ถามเขา เขาก็พาไปเรียนโรงเรียนสอนดนตรีใกล้ๆ หอสมุดแห่งชาติ ครูเขาสอนตั้งแต่พื้นฐานเลย มีวิธีคิดมีอะไรที่ชัดเจน พอเจอแบบนี้ เราก็งง ไม่เคยคิดว่าดนตรีจะเป็นระบบอย่างนี้ จะเป็นศาสตร์ที่เชื่อมโยงและสามารถอธิบายอะไรก็ได้ ตอนนั้นอายุ 21-22 ได้ พอเจอแบบนี้ก็จมกับมันเลย ฝึกหนัก ฝึกกีตาร์วันละเป็น 10 ชั่วโมง ฝึกทุกวันอยู่ 5-6 ปี

 

ฝึกเป็นวงหรือฝึกคนเดียว 
เมธี: ดนตรีแบ่งเป็นหลายเรื่อง เรื่องแรกคือต้องฝึกของเราเองก่อน  ฝึกกับวงก็ต่างหากออกไป แต่ก็ยังเรียนและเล่นดนตรีด้วยแนวคิดแบบตะวันตก ความฝันตอนนั้นอยากเป็นนักดนตรีแจ๊ส ฝึกหนักมาก แต่ดนตรีแจ๊สหางานทำยาก แบบที่เป็นอาร์ตจริงๆ ส่่วนใหญ่ที่เล่นในเมืองไทยจะเป็นป๊อบแจ๊ส เลยประยุกต์วงเท่าที่เป็นไปได้
จนอายุ 26-27 ได้ตั้งวงทีโบนร่วมกับเพื่อน รูปแบบจะเป็นเร็กเก้ แต่วิธีการใช้การแสดง ดแบบแจ๊ส สอดรับกับกระแสช่วงนั้นที่มีผับเกิดใหม่หลายที่  เป็นผับร่วมสมัยทำให้สามารถเล่นอะไรที่ร่วมสมัยได้ ก่อนหน้านี้ร้านที่เราจะเข้าไปเล่นดนตรีมันไม่มี มีแต่คาเฟ่ มีนักร้องคล้องพวงมาลัยแบบนั้น ช่วงทำวงเป็น

สมัยของนายกฯ ชาติชาย(ชุณหวัน) เป็นยุคฟองสบู่ มีผับใหม่ๆ เกิดเต็มไปหมด เปิดโอกาสให้เราได้ทำในสิ่ิ่งที่เรียนมา ซึ่งพอทำไปตามขั้นตอนแล้ว มันจะไปสุดทางของมันเอง  ไม่ใช่การที่อยู่ๆ เราจะคิดขึ้นมาว่าจะทำอันโน้นอันนี้ มันเป็นขั้นตอนของมัน คือพอเล่นไปจนถึงที่สุุดแล้ว เราไม่รู้จะไปทำอะไร เล่นสไตล์ต่างๆ ก็เล่นจนหมดแล้ว พอผ่านขั้นนี้ไปก็จะเป็นขั้นของการสื่ื่อสารแบบศิลปะ ซึ่งตรงนี้จะไปเล่นในผับก็ไม่ได้แล้ว ได้แต่จับกลุ่มกับเพื่อนเล่นตามงานศิลปะที่เขาจัดแสดงซึ่งเริ่มเลี้ยงชีพลำบาก แต่ก็ทำให้เราได้ทะลุในสิ่งที่เราเป็น แต่เมื่อทะลุไปแล้วก็ยังเจอว่ามันก็ยังว่างเปล่าอยู่ดี

 

เป็นจุดหักเหของชีวิตอีกครั้ง 
เมธี: ก็คิดจะกลับไปเรียนต่อ อยากไปเรียนเรื่องปรัชญาที่ประเทศอินเดีย ซึ่งอยู่ระหว่างการตัดสิินใจเลือก พอดีมีปัญหากับวงก็ลาออกมา ก็มึนงง เคว้งคว้าง จึงคิดจะกลับไปเรียนที่รามฯ ให้จบ แล้วไปต่อที่อินเดีย พ่อย้ายไปประจำอยู่พอดี ถ้าไปเรียนก็สะดวก

ระหว่างนั้นปู คำภีร์ชวนให้ไปเล่นกับเขา พอเป็นเพลงเพื่อชีวิตมันก็เป็นอีกแบบ แรกๆ ก็งงๆ ว่าเราจะเข้ากับเขาได้มั้ย พอไปเล่นจริง มันก็สนุกเป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่เราไม่เคยชิน และสนุกตรงที่ปูเขาเป็นนักร้องที่เก่ง เป็นผู้นำวงที่เก่ง ก็มันส์์อยู่ 4-5 ปี เรื่องเรียนก็ยกเลิกไป ตอนหลังว่าจะแค่ไปเที่ยวก็ยังไม่ได้ไปเลย(หัวเราะร่วน) ตอนท้ายๆ เล่นด้วย และเป็นผู้จัดการวงด้วย ก็เหนื่อย  มีโอกาสได้ไปเล่นในคุกในซ่องซึ่งไปเล่นที่อื่นก็ไม่มีอย่างนี้ มันก็มาจนสุดทาง ลาออก แล้วไปเรียนมวยจีน

 

ทำไมเลือกไปเรียนมวยจีน 
เมธี: ไม่ได้ตั้งใจ ตอนนั้นอยากรู้ว่าเกิดอะไรกับบ้านเมืองเรา แนวโน้มจะเป็นอย่างไร อยากดูวิธีคิดของสายอื่นๆ ไปเดินแผงหนังสือ เจอหนังสือของอาจารย์สุุวินัย ภรวลัย เรื่อง ทุนนิยมฟองสบู่ ซึ่งขณะนั้นยังไม่เกิดวิกฤตฟองสบู่เลย หนังสือออกมาได้ 2-3 ปีแล้ว รู้ สึกแปลกดี ซื้อมาอ่านที่บ้าน ก็อ่านเพื่อเป็นความรู้ ความคิดเฉยๆ ว่าแนวทางเป็นอย่างไร พอดีข้างหลังมีรูปอ.สุวินัยรำมวยจีน พอเห็นนักคิดที่เขาสนใจเรื่องพวกนี้ด้วย เราก็อยากไปเรียนรู้ รู้ข่าวว่าเขาเปิดสำนักสอนก็ไปสมัครเรียน  พอเริ่มสมัครเรียน เรื่องพวกนี้ก็กลับมาใหม่หมดเลย เหมือนกับว่าเรา start ทางจิตวิญญาณอีกที
เรื่องดนตรีก็เหมือนกันแรกๆ ส่วนใหญ่ยังเล่นแบบเป็นวิธีคิดอยู่ พยายามเล่นอะไรที่ซับซ้อน ยากๆ ไม่เหมือนชาวบ้านเขา จนในกลุ่มแวดวงเพื่อนๆ เขาก็ยอมรับว่าเรามีเสีียงของเรา พอมาถึงตรงนี้ก็เหมือนกับว่า ตรงนั้นมันก็แค่นั้น ไม่มีอะไรมากกว่านั้น เป็นแค่การสร้างรูปแบบของตัวเราเอง

แต่พอเรียนไปสักพัก มีอะไรเข้ามาเต็มไปหมดเลย มันได้ยินเสีียง เป็นเสีียงเหมือนกับเสียงวงดนตรีใหญ่ๆ มันได้ยินทั้งที่เราก็อยู่เฉยๆ แบบนี้ ทำให้เข้าใจนักดนตรีโบราณพวก บาร์ค หรือคนอื่นที่เวลาจะเขียนเพลง แล้วบอกว่าได้ยินเสีียง แต่งเพลงมาจากเสียงที่ได้ยิน  ตอนที่ฝึกใหม่ๆ 3-4 เดือนเองที่ได้ยินเสียง เออ..มันงง มันไม่รู้ว่ามาได้ยังไง แล้วมันคืออะไร แต่ก็เฝ้าดูเฉยๆ เพราะมันเริ่มเข้าสู่กระบวนการภาวนา เริ่มภาวนาเป็นแล้ว ไม่ได้ตกใจ แปลกใจ หรือตื่นเต้น ก็ดู ฟัง มันไปเรื่อยๆ

 

ทิ้งดนตรีไปเลยหรือเปล่า 
เมธี: ก็ยังเล่นอยู่ กลุ่มของอ.สุวินัยนั้นหลากหลายเป็นชุมนุมของคนที่มีวิธีคิดหลายอย่างร่วมสมัย และเป็นวิธีคิดเชื่อมโยงกับจิตวิญญาณ เป็นโอกาสให้ได้แลกเปลี่ยนกัน และได้เล่นดนตรีด้วย เขาจะเปิดให้เราได้ทำอะไรอย่างที่เราเป็นโดยไม่ได้กำหนดรูปแบบว่าเราต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้

แต่ตอนนั้นด้วยวุฒิภาวะยังต่ำ จึงทำให้ยังไม่เป็นกระบวนการภาวนาแบบเต็มๆ ยังกึ่งๆ อยู่ระหว่างความชำนาญของนักเล่นดนตรีสด แต่เป็นความพยายามที่จะทำให้ตัวเองมีสมาธิมากขึ้น จดจ่อกับสิ่งที่เล่นมากขึ้น เริ่มเล่นช้าลง ทำทุกสิ่ิ่งทุกอย่างที่เคยคล่องแคล่วว่องไวให้ช้าลง และเฝ้าดูให้ทัน

 เรียนอยู่นานมั้ย 
เมธี: ประมาณ 2-3 ปี แต่ไม่ได้ไปตลอดเพราะเรียนเช้า เราตื่นไม่ค่อยไหว อาทิตย์ไหนตื่นไหวก็ไป ตัววิชามวยมันไม่ได้หรอก ร่างกายมันไม่พร้อม ไม่ได้ฝึกต่อเนื่อง แต่มันได้เรื่องชี่กง ซึ่งเป็นพื้นฐานของมวย เรื่องชี่ ทำให้เราจับความรู้สึกได้ และนำมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับเสียงดนตรี

 แล้วมารู้จักนพลักษณ์ได้อย่างไร 
เมธี: ต่อเนื่องกับการเรียนมวยจีนพอดี ก่อนที่อ.สุุวินัยจะยุบสำำนักไม่นาน พอเรียนนพลักษณ์สิ่ิ่งที่อ.สันติกโรสอนก็สามารถสวมกันได้พอดีกับเรื่องที่เรียนมาก่อนหน้านั้น  ตอนไปนพลักษณ์กับการปฏิบัติธรรมครั้งแรกที่จัดขึ้น (ปี 2543)แล้วอ.สอนเดินจงกรม เราเดินปรกติไม่ได้ มันไม่มันส์์(หัวเราะเสีียงดัง) ไม่รู้สึกอะไร ไม่รู้สึกว่าเรารู้เท่าทันหรือจับอะไรได้ ก็เลยเอามาผสมกับชี่กงที่เรียนมา กลายเป็นการเดินจงกรมแบบที่เรารู้สึกถึงชี่  หลังจากตอนนั้นมาก็ฝึกทุกวัน ฝึกให้เรารู้สึกถึงชี่ รู้สึกถึงความรู้สึกตัวทั่วพร้อมไปด้วย ปีที่แล้วเมื่อเริ่มจับขลุ่ย จากที่เราเคยพยายามให้มันรู้สึึกถึงชี่ตอนที่เล่น แต่ตอนหลังเราไม่ต้องไปคิดถึงมัน พอรู้สึึกตัวมันก็มาของมันเอง

 เรียนมาหลายเรื่อง เหมือนกับว่าเป็นการหาคำตอบให้กับคำถามทางจิตวิญญาณของเรา แล้วเรื่องทางดนตรีล่ะ ได้ตอบคำถามอะไรบ้าง หลังจากที่บอกว่าไปจนสุดทางแล้ว
เมธี: ทางดนตรีหรือ? ตัวเองจะมองภาพรวมของดนตรีทั้งหมดคือ พัฒนาการของดนตรีจะมีขั้นตอนของมัน ขั้นแรกต้องเริ่มเรื่องทักษะก่อน ฝึกฝนให้ใช้เครื่องมือได้ ขั้นที่สอง เรียนรู้เรื่องหลักการ และการฝึกทฤษฎีดนตรี ทฤษฎีดนตรีของตะวันตกจะเป็นระบบมาก จะเป็นหลักที่มีที่มาที่ไปชัดเจน ขั้นที่ สามต้องมีความเข้าใจเรื่องปรัชญาศิลปะ รู้เรื่องการนำเสนอให้สามารถสื่ื่อสารวิธีคิดออกไปได้ พอถัดจากขั้นนี้เริ่มเป็นขั้นที่เข้าสู่กระบวนการภาวนาแล้ว  จะเป็นขั้นที่ไปเรียนวิชาอะไรก็สามารถเอามาใส่ได้ พูดให้ฟังง่ายๆ คือ ขั้นมิติสััมพันธ์ คือจะมองเห็นว่าศาสตร์ทุกแขนงมีที่มาที่เดียวกันหมด

นี่เป็นการคิดในแง่มุมของเสีียง ของเนื้อหา โดยรวมๆ ถึงที่สุุดแล้วก็มีเพียงเสีียงและความเงียบสลับกัน อีกด้านก็คือการคิดจากแง่มุมของความเงียบ ที่ตรงและชัดเจนที่สุดก็คือเซน เป็นสองด้านของกันและกัน อารยธรรมก็มี 2 สาย สายหนึ่งเป็นเรื่องของการคำนวน ศาสตร์ต่างๆ ทั้งหลาย กับอีกสายเป็นเรื่องของการรู้เท่าทันเพียงอย่างเดียว เมื่อเข้าใจตามลำดับขั้นนั้นแล้วเราจะเข้าใจอีกด้านนี้โดยอัตโนมัติ  การได้แลกเปลี่ยนกับหลายคน กับอ.สัันติกโรด้วย อาจไม่ได้ตอบคำถามเราตรงๆ  แต่ไปสะกิดตัวรู้ ตัวความเข้าใจของเราโดยอัตโนมัติ

 ดั้งเดิมดนตรีในนพลักษณ์มีอยู่ก่อนหรือเปล่า 
เมธี: มีอยู่ก่อนแล้ว เราไม่ได้สนใจนพลักษณ์ในแง่จิตวิทยาเลย แต่พอเห็นแผนภาพแล้ว รู้สึึกเลยว่ามันต้องเกี่ยวโยงกับเรื่องดนตรี ก่อนหน้านี้มีเพื่อนเคยเอาหนังสือเกี่ยวกับศาสตร์เร้นลับของตะวันออกมาให้ มีเรื่องนพลักษณ์อยู่ในนั้นด้วย ก็เปิดดูแล้ววางทิ้งไว้ พอมาเห็นแผนภาพนพลักษณ์ก็จำไม่ได้ว่าเคยเห็นที่ไหน แต่ความรู้สึึกลึกๆ มันบอกว่ามันเกี่ยวโยงกับสิ่งที่เรากำลังทำอยู่ เลยเข้ามาเรียน ลองดูไปก่อน จะอธิบายเรื่องการสร้างดนตรีในนพลัษณ์ให้เข้าใจ

ต้องเข้าใจเรื่องแผนภาพดวงดาวและลูกบาศก์ของปิธากอรัสก่อน  มันเป็นเรื่องกฎของ 3 คือการแบ่งสามเหลี่ยมแต่ละด้านเป็น 3 ส่่วน และลากเส้้นเชื่อมทุกจุด จะได้สามเหลี่ยม เล็กๆ 9 อัน ทันทีที่เป็นอย่างนี้ก็จะเกิดกฎของ 7 โดยอัตโนมัติ คือ จุดทั้ง 6 ที่เราเพิ่มลงไปในขอบของสามเหลี่ยมบวกกับจุดตรงกลางที่เกิดจากการตัดของเส้้นที่เราลากเชื่อมแต่ละจุด เป็นปรากฏการณ์ของการเกิดลูกบาศก์ จากกฎของ 3 ผ่านกฎของ 7 เกิดเป็นมิติขึ้นมา จากตรงนี้ถ้าดูให้ดีจะเห็นสัญลักษณ์ของศาสนายิว ที่ตอนต้นของหนังสืือนพลักษณ์จะเขียนไว้ว่ามีความเชื่อมโยงกันระหว่างนพลักษณ์กับคาบาร่า และดูให้ดีอีกทีหนึ่งจะเห็นลูกศร 1-4-2,8-5-7 เป็นพื้นฐานที่มาของแผนภาพนพลักษณ์ในปัจจุบันนั่นเอง

 

อีกเรื่องซึ่งปิธากอรัสค้นพบคือ เขาค้นพบว่าเสียงมีระยะห่างเป็นขั้นเป็นตอน โดยผ่านกฎทางคณิตศาสตร์  สมัยก่อนเขาเดินผ่านร้านตีเหล็ก เห็นช่างตีเหล็กที่มีขนาดสั้นยาวไม่เท่ากัน แล้วได้เสียงต่างๆ กัน เขาก็มาค้นหาค่าทางคณิตศาสตร์เกิดเป็นบันไดเสีียงขึ้นมา 7 ขั้น พอมาเชื่อมกับนพลักษณ์ก็เข้ากับกฎของ 7 คือ โน้ต 7 ตัว(โด เร มี ฟา ซอล ลา ที) ที่เรารู้จักกัน

ปัจจุบัน ช่วงเสียงได้ผ่านการคำนวณทางคณิตศาสตร์ที่แม่นยำยิ่งขึ้น ทำให้ตรงและชัดเจนกว่า ซึ่งต้องใช้กฎของ 12 เข้ามาเ ริมเพราะจะร่วมสมัยกว่า  กฎของ 12 คือ ประวัติศาสตร์ของดนตรีรากเดิมเกิดจากวิธีคิดทางคณิตศาสตร์ และวิธีคิดทางโหราศาสตร์ สมัยโบราณวิธีคิดทางโหราศาสตร์ก็คือ เรื่องของดาราศาสตร์ ซึ่งก็คือหลักการทางปฏิทิน จึงดึงส่่วนนี้เอามาเทียบเคียง สร้างแบบแผนทางดนตรีขึ้นมา กลายเป็นตำแหน่งและชีวิตของคนเราในเวลา นั่นคือการสร้างแบบจำลองของคนคนนั้นออกมาเป็นดนตรี เป็นการวาดรูปเหมือนของคนคนนั้นทางด้านใน ไม่ใช่การวาดรูปเหมือนทางรูปร่างหน้าตา

 

 ด้วยความเป็นนักดนตรีจึงหยิบมาเล่นให้คนอื่นฟังหรือถือเป็นงานทดลอง หรือมุ่งหวังอะไร
เมธี: มันกลายเป็นเรื่องที่เราต้องทำมัน  เป็นหน้าที่ เป็นเรื่องเชิงอุดมคติไป เราเป็นนักดนตรี เป็นศิลปิน  ต้องมีอุดมคติของมันอยู่ พอถึงตรงนั้น ถึงที่สุุดของมัน เราก็ต้องทำ มันเป็นหน้าที่ของเรา ก็บอกเล่าออกมาให้กับโลก กับอะไรรับรู้ตามตำราแต่ละลักษณ์จะมีญานทัศนะของตน ถ้าฟังดนตรีให้เป็นกระบวนการภาวนา ฟังเหมือนกับเราเฝ้าดูความคิด ฟังการเกิดดับของเสียง ฟังเสีียงของตัวเอง เข้าใจว่าดนตรีนี้จะกระตุ้นญาณทัศนะได้ถ้าอยู่ในจังหวะ เวลาที่เหมาะสม  เราก็ทำหน้าที่เหมือนกับช่างก่อเจดีย์ ช่างปั้นพระพุทธรูป สร้างงานไว้ให้ผู้คน (เผื่อใครดู/ฟ้งแล้วจะเกิดปิ๊งขึ้นมา)

 แล้วคนเล่นดนตรีเองได้อะไรล่ะ 
เมธี: มันได้อยู่แล้ว อย่างที่บอกว่ามันเป็นพัฒนาการของเรา  จะมุ่งหวังอะไรชัดเจนมันไม่มี ถ้าคิดอะไรแบบชัดเจนมันจะตกไปอยู่ใน 3 ขั้นแรกของเรื่องดนตรีทันที  พอมาอยู่ในขั้นนี้ไม่ใช่ว่า 3 ขั้นแรกไม่มีความหมายนะ มันเกี่ยวกันหมด

ในแง่มุมของนักดนตรี เคยต้องฝึกกีตาร์ ฝึกอะไรต่างๆ อยู่ทุกวัน แต่พอมาถึงตรงนี้เรื่องที่ฝึกไม่ใช่การฝึกดนตรีเป็นเรื่องหลักแล้ว แต่ฝึกภาวนาเป็นเรื่องหลัก ฝึกเครื่องมือก็ฝึกแค่เท่าที่ให้เราทำงานได้ จากประสบการณ์ตัวเองที่ผ่านมา พอถึงจุดนี้เราจะไม่ติดกับเครื่องมือ ตอนแรกจะติดกับเครื่องมือมาก เราเป็นนักกีตาร์ต้องเล่นกีตาร์ ต้องไปให้สุด แต่พอมาถึงตรงนี้จับอะไรมาก็ไม่ใช่ปัญหา   แต่เป็นเรื่องของการวางตำแหน่งให้ดำเนินไปตามสภาวะของภายใน แล้วเราก็เติบโตไปกับมันด้วย ฝึกกระบวนการเฝ้าดูของเรา และทุกครั้งที่เราเล่นเราก็จะได้ดูตัวเองด้วยว่าเราเป็นอย่างไร 
ตอนหลังไม่ค่อยอยากเล่น จะเล่นให้แต่กับกลุ่มนพลักษณ์ เพราะมันอธิบายยาก มันมีเรื่องเสียงและเรื่องของความเงียบ เรื่องเสียงมันเป็นหลักการ ต้องอธิบายยาว บางคนก็หมดอารมณ์ หมดแรงจะฟังแล้ว และเราเองก็หมดแรงด้วย ตอนหลังใช้การเป่าขลุ่ย ขลุ่ยมันเป็นเซนเป็นด้านตรงข้ามของเรื่องนี้ ให้เสียงมันพาไปสู่ความเงียบ ก็เท่านั้นไม่ต้องอธิบายอะไรมาก แต่ก็ยังอยากเล่นอยู่ให้กับกลุ่มที่ศึกษามาก่อน โดยเฉพาะกลุ่มที่ศึกษาภาวนา อธิบายอย่างนี้เขาจะมองเห็นภาพรวมๆ ถ้าคนที่ไม่มีพื้นฐานนพลักษณ์ หรือไม่ได้ภาวนา  เขาจะจี้ลงไปที่รายละเอียดของทฤษฎีดนตรี ซึ่งมัน 20 กว่าปีมาแล้ว เราก็จำศัพท์ที่เขาใช้ไม่ได้แล้ว(หัวเราะ)

 อนาคตจะทำอะไรต่อ 
เมธี : ตอนนี้เราเห็นภาพรวมแล้ว เรื่องจะต้องทำต่อไปก็คือ การเผยแพร่เท่าที่จะทำได้ แต่ในส่วนตัวก็คือเราต้องวางอะไรบางอย่าง  ไม่ไปติดกับมัน กับสิ่งที่ควรจะเป็น มันจะเป็นได้เท่าที่มันจะเป็นตามหนทาง และอีกส่วนของอุดมคติคือ จะเล่นและพูดเรื่องนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่า สักวันจะมีคนมาทำต่อ มาลงรายละเอียดที่ชัดเจนกับมัน คิดว่าคงเป็นยุคหลังจากนี้ พอมีตรงที่เราทำไว้แล้ว คนต่อไปก็คงจะมาต่อยอดได้ง่ายขึ้น

 ตอนนี้กลับมาเล่นดนตรีกับวงของพงษ์สิทธิ์อีกครั้ง 
เมธี :  อย่างแรกเลยคือทำเรื่องพวกนี้มันเลี้ยงชีพไม่ได้  ถึงจริงๆ จะทำให้เป็นเชิงธุรกิจก็ทำได้แต่เราไม่ใช่นักนำเสนอ จะทำอะไรแบบที่ไปโปรโมตตัวเองมันก็อาย เราก็ไปทำอีกแบบแบบที่เราเคยทำมาดีกว่า เพื่อนๆ ในแวดวงดนตรีเป็นเพื่อนซึ่งอยู่ด้วยกันมานาน พื้นที่ที่เราไปเล่น หรืออุดมคติทางดนตรีอาจไม่ตรงกัน แต่อย่างน้อยที่สุดคนร่วมงานที่เหมือนพี่เหมือนน้องเราก็ทำงานสบายใจ พื้นที่ที่ไปเล่นก็ไม่ได้เลวร้ายอะไรนัก ไปเล่นในผับก็เห็นแง่มุมชีวิตอีกแบบหนึ่ง ความเป็นโลกอย่างที่มันเป็น

หากชีวิตคือการเดินทาง เสาะแสวงหา ชีวิตของเมธี จันทรา ก็คงเป็นการเดินทางอันยาวไกล พร้อมกับการเสาะแสวงหาความหมายในหลากซอกหลายมุมให้กับชีวิต ทว่าวันนี้เขายังไม่หยุดเดินทาง หากแต่เป็นเส้นทางของการเดินกลับเข้าสู่ภายในตนพร้อมกับดนตรีแห่งความเงียบ