enneagramthailand.org

    พี่ (เบอร์2) คนนี้…ที่มีแต่ให้ ?
บทสัมภาษณ์นพ.ชัยชนะ นิ่มนวล หรือ หมอต๊อก 
จิตแพทย์หนุ่มมาดนุ่มแต่ลุ่มลึก

 “เมื่อรู้ว่าเป็นลักษณ์นี้  ก็รู้สึกรังเกียจตัวเองพอสมควร  อย่างที่เรารู้ว่าคน 2 ชอบที่จะให้คนอื่น ช่วยเหลือคนอื่นเพื่อหวังผลตอบแทนใช่มั๊ย มันallergic กับตัวเองเหลือเกิน รู้สึกเหมือนกับพวก hypocrite เหมือนกับปากว่าตาขยิบ หรือว่าปากอย่างใจอย่างอะไรอย่างเงี๊ยะคือ อ่านมาทั้งหมดจะพอใจกับไอ้ที่เขาบรรยายของคน 2 แต่พอถึงจุดนี้นี่แหม..มันแทบจะเดินหนีด้วยซ้ำไป

เสร็จแล้วเราได้รับการชี้ว่า เรารับมาตลอดชีวิตนั่นเอง  คำพูดบางประโยคสั้นๆ ที่เฮเลน พาร์มเมอร์พูดว่า “ที่ you คิดว่าไม่ได้รับ  จริงๆ แล้ว you ได้รับตลอดชีวิต” คุณลองคิดดูสิ แล้วก็คน 2 ซึ่ง pride มากว่าไม่รับของใคร ปรากฎว่าได้รับการชี้ว่า you รับมาตลอดชีวิตจริงๆ มันเป็น in your face experience มันเป็นไปไม่ได้ที่เราจะไม่ได้รับ เพราะเราอยู่ในโลก โลกนี้มันก็มีการให้การรับตลอดเวลา”

เช่นเดียวกันเพื่อนนพลักษณ์ทุกคนที่กลับไปเฝ้าสังเกตรูปแบบการกระทำ  ความรู้สึกของตนเอง  หมอต๊อกก็เช่นกัน

“เนื่องจากผมเป็นจิตแพทย์ ผมก็มีแนวโน้มที่จะสังเกตตนเองอยู่แล้ว เพราะว่าทุกครั้งเวลาจะพูดกับ clients หรือ คนไข้   เราต้องตระหนักอยู่ตลอดเวลาว่าเราพูดอะไรออกไป แต่สิ่งที่ได้จากนพลักษณ์ คือ การสังเกตถึงจุดอ่อน การที่เราพยายามช่วย พยายามเข้าใจ ทำอะไรก็คิดถึงความรู้สึกของคนอื่นๆ  เพราะว่าสิ่งเหล่านั้นมันยั่วยวนให้เราชอบตัวเราเอง

แต่เราเลือกที่จะให้ ผมว่าอันเนี่ยะที่ต่างจากคน ๙ เพราะว่าเราเลือกที่จะให้ เรารู้ว่าเราจะให้ แต่นี่ไอ้การปฏิเสธไม่ได้ของ 2 เป็นเพราะว่าเขา concern เกี่ยวกับเรื่อง relationship และ image ถ้าเป็นไปได้ เขาก็จะเลือกคนที่จะให้ และก็เลือกของที่จะให้ด้วย

อย่างคน 2 ในฐานะอย่างผมเนี่ยะ แม้เราจะให้ เราจะช่วยคน เราจะเห็นใจ แต่เราต้องการจะถูก demand น้อย คือ เราก็ไม่อยากให้เขายุ่งเกี่ยวกับเรามากนักหรอก มันจะมีบางภาวะที่เรารู้สึกอึดอัดจากการ demand จากคนอื่น คน 2 เราจะ stress ตรงนี้จากการที่ถูก demand เยอะ ก็ใจมันไปอยู่ข้างนอกอยู่แล้ว ยิ่งมาถูก demand อีกมันไม่ไหว

  
   ...ความเห็นของผม นพลักษณ์คล้ายๆ cognitive theory หรือ cognitive therapy ในเรื่องของบุคลิกภาพค่อนข้างมาก วิธีการมองคนเป็น system มาก ซึ่งอันนี้เป็นข้อดีที่ผมชอบ เร็ว และเป็น systematic มากในการมองคน....   
     
ผมคิดว่าคน 2 เวลามีแฟนจะ demand แฟน ผมเดาเอา เพราะการชอบควบคุมของคน 2 เพราะฉะนั้นเรื่องความรักมีได้ไม่ได้เป็นปัญหา ยกเว้นว่าไปโยงว่าคนอื่นต้องการฉัน แต่ฉันไม่ต้องการใคร อันนี้อาจจะทำให้คน 2 มีแฟนยาก ซึ่งผมว่าเป็นพื้นฐานของ 2 นะ เป็นความเชื่อ เป็น passion ของ 2  พูดงี๊ก็เหมือนกับผมหลงตัวเอง อันนี้เป็นปัญหาเหมือนกัน ใครๆ ก็ต้องการฉัน แต่ฉันไม่ต้องการใคร เป็น pride ของ 2

ในหนังสือจะเขียนว่า คน 2 ต้องการความอิสระ ตรงจุดนี้ค่อนข้างเยอะเหมือนกันมันจะ confuse มาก ระหว่างการให้-การรับ อะไรต่างๆ จะมี issue บาง issue ที่เรารู้สึก  เช่น เขาให้เราโอ๋..มีบุญคุณอย่ารับเลยดีกว่าถูกมั๊ย แล้วก็เราให้เขาเออ..ดีเหมือนกัน เขาจะได้เห็นความสำคัญเรามีความหมาย เพราะฉะนั้นถ้าให้เขาเราก็ไม่เป็นอิสระ  ฉะนั้นคน 2 จึงตกอยู่ใน trap ที่ว่ายังไงก็ไม่เป็นอิสระ

นี่คือเหตุผลที่คน 2 ชอบคน 5  คน 5 ไม่ demand อยู่ได้สบายและคน 5 ท้าทายด้วย เพราะว่าเขาปิดใช่มั๊ย คน 2 ชอบ เพราะคน 2 นี่จุ้นจ้าน คน 5 ไม่ชอบ คน 2 ชอบใหญ่เลยสนุก เพราะจุ้นจ้านแล้ว free ด้วย นึกออกมั๊ย เพราะว่าเขาไม่ขอเรากลับคืน เขาไม่ demand สนุกที่สุดอยู่กับคน 5”

ส่วนการอยู่เบื้องหลังให้กับความสำเร็จของคนอื่นนั้นหมอต๊อกบอกว่าไม่ใช่จุดมุ่งหมายของคน 2 อย่างเขา

“โดยธรรมชาติอัตโนมัติคน 2 เนี่ยะเขาจะทำให้ตัวเองเป็นส่วนสำคัญในความสำเร็จที่จะเกิดขึ้น ซึ่งเขาก็เชื่อว่าเขาเป็นส่วนสำคัญ แต่จริงรึเปล่าก็ไม่รู้  เมื่อเขาเชื่ออย่างนั้น ก็จะทำโน่น ทำนี่เพื่อให้มันสำเร็จ โดยโลกทัศน์ของคน 2 จะมองว่าถ้าไม่มีเขาคงแย่นะเนี่ยะ เพราะว่าคน 2 เชื่อว่าเขาเป็นตัวจักรอันนึงที่สำคัญ ซึ่งจริงๆ แล้วมันไม่ใช่”

แล้ววิธีคิดเชิงประจบ อย่างก็ทุ่มเททั้งหมดของตัวเอง เพื่อคนพิเศษ เพื่อคนที่รัก การควบคุมตัวเองกับประเด็นตรงนี้ของคน 2 เป็นอย่างไร

“ผมไม่รู้สึกว่าทุ่มเทมากนะ อาจเพราะทำโดยอัตโนมัติ อย่าลืมว่าคน 2 เนี่ยะทนอะไรได้มาก  ทน suffer ได้มากมาย เพราะฉะนั้นเขาอาจจะไม่รู้สึก  คนอื่นอาจจะมองว่าเขาทุ่มเทมาก แต่เขาจะไม่รู้สึกว่าทุ่มเทมาก ถ้าสมมติทำไปแล้วไม่ได้ก็คง hurt แต่ว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่จริงๆ เนี่ยะ แทบจะไม่ค่อยเห็นน่ะ

ตรงนี้อาจจะเป็นกลไกอันนึงที่ทำให้ 2 ไม่ hurt มากก็ได้ แน่นอนคนทุกคนใช้ defense เกือบทุกอัน อาจจะเห็นว่าคนทุกลักษณ์ก็ใช้ repress แต่สิ่งที่คน 2 repress คือ repress ความต้องการของตัวเอง บ่อยครั้งที่เราต้องการอะไรซักอย่างนึง แต่เราเจอความต้องการของคนอื่นแล้วงานของเราก็เอาไว้ที่หลัง เช่น นั่งทำงานอยู่ แล้วมีคนทำท่าจะคุยกับเรา ก็วางงานแล้วคุยเลย อันนี้จะเจอบ่อยและก็ยังเป็นอยู่ พอเสร็จแล้วก็รำคาญ ทำไมมันต้องมาอยู่เรื่อยๆ เราจะทำงานให้เสร็จ

ตรงนี้เนี่ยะจะเรียกว่าเรื่องการเก็บกดความต้องการมั๊ย กรณีอย่างนี้เรารู้ตัว เมื่อได้ทำไปเรารู้ตัว แต่เราไม่อยากไปขัดเขา เพราะเรารู้สึกว่าเขาเดือดร้อน รู้สึกปัญหาเขาสำคัญ งานของเราเดี๋ยวเราทนทำต่ออีกนิดเราก็ทำเสร็จ อันนี้คือความคิดที่มันเกิดขึ้น

แต่อย่าพยายามถามเกี่ยวกับ repression นะ เพราะว่าโดย sense มันต้อง unconscious ในเมื่อมันเป็น unconscious ผมไม่มีทางรู้ถูกมั๊ยฮะ ถ้ารู้ก็ไม่ใช่แล้ว เพราะฉะนั้นมันก็เลยบอกไม่ได้  อาจเป็นเพราะผมเรียนมาทางจิตแพทย์เลยรู้ว่า repression มันเป็น basic ของ defense อื่นๆ  ต้อง repress แล้วค่อย project หรือ deny”

ในโลกที่มีทั้งการให้-การรับ แต่สำหรับคน 2 การให้ตอบแทนอาจเจอการปฏิเสธ การรับไว้เฉยๆ คน 2 บางคนอาจน้อยใจว่าเราไม่ต้องการ ไม่รัก

“การให้ 2 เนี่ยะ คุณไม่จำเป็นต้องให้เป็นของหรืออะไรเยอะแยะ เพราะว่าเขาไม่ได้แคร์เรื่อง material มาก ไม่สำคัญ  แต่ต้องมากในแง่ของ feeling เช่น คุณให้ card เขาใบนึง ถ้า card ยังไม่ยอมรับเนี่ยะมันก็เกินไปแล้วล่ะ มันคงเป็น pathology มาก ไม่ต้องไปถามว่าต้องการอะไร ไม่ได้คำตอบหรอก ให้เลยเล็กๆ น้อยๆ ก็ได้เขารับ เพราะเขาต้องการ คน 2 ต้องการ  เพียงแต่ถ้าเราไปเข้าใจว่าถ้าเขาให้เราเท่านี้ เราจะต้องให้เขาเท่านั้นผิดล่ะ ถ้าคุณตั้งใจให้เขารับ หรือคุณถามเขาว่าเป็นยังไงบ้างอะไรอย่างเงี๊ยะ หรือไม่ก็ฟังเขาพูดก็โอเค. อาจจะรอนิดนึงเพราะเขาไม่ชินในการที่เล่าเรื่องตัวเอง ไม่จำเป็นต้องเป็นของไม่จำเป็น

แล้วเมื่อไหร่เขา demand ให้เขาเลย เพราะเขาไม่ demand ตรงไปตรงมา  เช่นเอ๊ะ..วันนี้น่าจะไปดูหนังมั๊ยเนี่ยะอะไรอย่างเงี๊ยะ อย่างเงี๊ยะไปเลย คือ เขาไม่ตรงไปตรงมา เขาต้องการ เขาจะบอกว่าเขาขอไม่ได้ เพราะฉะนั้นก็ต้องให้ไปเลย ไม่ยากหรอกคน 2”

 นพลักษณ์จิตวิทยาจากเผ่าซูฟี ในสายตาจิตแพทย์คน 2

“ความเห็นของผมนพลักษณ์คล้ายๆ cognitive theory หรือ cognitive therapy ในเรื่องของบุคลิกภาพค่อนข้างมาก วิธีการมองคนเป็น system มาก ซึ่งอันนี้เป็นข้อดีที่ผมชอบ เร็ว และเป็น systematic มากในการมองคน มันมีวิธีการชัดเจน แต่โดย concept หรือ theory แล้วไม่ต่างจากทฤษฎีอื่นมากเท่าไหร่ ก็น่าทึ่งกับคนสมัยก่อนๆ ที่เขา develop วิธีการคิดแบบนี้มา ต้องอาศัยการสังเกตค่อนข้างเยอะ แต่ละ type น่าจะมี level ของ development ของมันอยู่ในตัว คือ หมายความว่ามันมีระดับของ maturity วุฒิภาวะของมันเองอยู่แล้ว อย่างคน 2 ที่ไม่ได้ผ่าน enneagram หลายๆ คนเขาก็ balance คือเขาก็เป็นคนดีได้ ผมถึงเชื่อว่าคนที่ไม่ผ่าน enneagram และเขามีวุฒิภาวะดี เขามี awareness มีสติดีๆ เขาอาจไปถึงได้ดี อย่างพระหลายๆ รูปน่ะ ไม่เห็นต้องอาศัย enneagram เลย แต่แสนจะดี

ที่ผมประทับใจ คือ มันเร็วในการที่เรา aware ส่วนของเรา แล้วเราก็ practice มัน ผมคิดว่าตรงนี้ที่สำคัญที่สุด มันก็ balance ในตัว เพราะมันไม่ miss เรื่องอื่นๆ เลย ถ้าเราจำเจกับลักษณ์ของเราอยู่เรื่อยๆ ก็จะ miss ตัวอื่นๆ  แต่ถ้าเรา aware แล้ว เราก็ไม่ได้ใช้มันมาก ก็ทำทุกอย่างให้มัน match กับ reality กับความเป็นจริงของโลกของชีวิต

สิ่งที่สำคัญที่สุดของการฝึกที่จะตระหนักถึงใจเราหรือ habit of attention หรือ habit of mind ของเรา ที่เราเอาใจเราไปเกาะเกี่ยวอยู่ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นถ้าเรา aware อยู่เรื่อยๆ มันก็จะพัฒนาไปเอง”