enneagramthailand.org

วิถีคน 3: ความสำเร็จหรือหลอกลวง


ไต่สวนบุคคลครั้งนี้เป็นการเจาะลึกชีวิตจริงของคุณ ก. คนเก่งผู้ประสบความสำเร็จทางธุรกิจ แต่เริ่มสงสัยว่ามันคือที่สุดของชีวิตจริงหรือ การไต่สอนสอบทานตัวต่อตัวกับอาจารย์นพลักษณ์ ทำให้เธอสามารถคลี่คลายปมชีวิตที่ฝังลึกมานานได้ชัดเจนขึ้น และยินดีนำประสบการณ์ของเธอมาร่วมแลกเปลี่ยนเป็นวิทยาทาน

ไต่สวนเจาะลึกชีวิตคุณ ก. อาสาสมัครคนลักษณ์ 3


วิถีคน 3: ความสำเร็จหรือหลอกลวง    
ไต่สวนเจาะลึกชีวิตคุณ ก. อาสาสมัครคนลักษณ์ 3    
 

ไต่สวนบุคคลครั้งนี้เป็นการเจาะลึกชีวิตจริงของคุณ ก. คนเก่งผู้ประสบความสำเร็จทางธุรกิจ แต่เริ่มสงสัยว่ามันคือที่สุดของชีวิตจริงหรือ การไต่สอนสอบทานตัวต่อตัวกับอาจารย์นพลักษณ์ ทำให้เธอสามารถคลี่คลายปมชีวิตที่ฝังลึกมานานได้ชัดเจนขึ้น และยินดีนำประสบการณ์ของเธอมาร่วมแลกเปลี่ยนเป็นวิทยาทาน   
     
อาจารย์ : เริ่มต้นด้วยเล่าว่ากิเลสของเบอร์สามเป็นอย่างไรบ้าง 
คุณ ก. : เรื่องของภาพ ภาพของคนที่ทำอะไรเก่ง ภาพของ somebody

อาจารย์ : ขอให้ยกตัวอย่างสักภาพได้ไหม 
คุณ ก. : เช่น เราต้องเป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ

อาจารย์ : เขาให้รางวัลเรา 
คุณ ก. : เป็นภาพอยู่ในหัว ผสมกับความอยากจะเป็นของเราด้วย เป็นไปได้ทุกแบบ ทั้งนักธุรกิจ หรือเป็นคนที่มีความสามารถพิเศษ บางทีอาจไปนึกถึงว่าเราสามารถเล่นกายกรรมได้ พอรู้สึกตัวก็ เออ เราจินตนาการไปขนาดนั้นได้อย่างไร แค่ทำที่หกกบธรรมดายังทำไม่เป็นเลย

อาจารย์ : มันเป็นจินตนาการไม่ใช่หรือ สมัยเด็กอาตมาก็จินตนาการบ้าง แล้วภาพเหล่านั้นมีอิทธิพลต่อชีวิตอย่างไร 
คุณ ก. : ทำให้เราพุ่งไปสู่จุดนั้น เราอยากจะไปเป็นแบบนั้น ไม่รู้ว่าตัวเองต้องการจริง ๆ หรือเปล่า หรือรับเอาจากสิ่งที่พ่อแม่อยากให้เป็น ก็เอามาทำ ช่วงที่อยู่กับพ่อแม่จับได้ว่าอยากมากเลย อยากดี อยากเป็นคนเก่ง เป็นตรงนั้นที่เด่นออกมาที่ใคร ๆ ก็รู้จักเรา แต่บางอย่างที่ทำไปจริง ๆ เราใช่อยากจะเป็นอย่างนั้นหรือเปล่า อีกใจก็ไม่ใช่

อาจารย์ : เราไม่ใช่ หรือเราไม่รู้ 
คุณ ก. : หมายถึงเวลานั้นใช่ไหมคะ

อาจารย์ : ใช่ 
คุณ ก. : สับสนมากกว่า ไม่รู้ว่าจะเป็นอะไร

อาจารย์ : แล้วภาพเหล่านี้มันจะผูกกับคนอื่นอย่างไรบ้าง 
คุณ ก. : ส่วนมากก็จะผูกกับคนใกล้ชิด พ่อ แม่ พี่ น้อง มีสิ่งนี้อยู่ในใจเยอะมาก

อาจารย์ : บางคนอาจจะมีภาพฝันว่าจะเป็นอะไร แต่ไม่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับพ่อแม่ก็ได้ 
คุณ ก. : เรารู้สึกว่าเราอยากจะเป็นอะไรที่สำคัญกับเขา กับคนรอบตัว

อาจารย์ : เราก็เป็นลูกสาว เป็นน้องสาวที่ดีอยู่แล้ว ไม่ได้สำคัญหรือ 
คุณ ก. : มันรู้สึกอยากจะเป็นอะไรมากกว่าแค่นั้น

อาจารย์ : ทำไม มันจำเป็นหรือเปล่า หรือมันมีอะไรผลักดันให้อยากเป็นมากกว่าที่เป็นอยู่ 
คุณ ก. : มันมีความรู้สึกว่ามันต้องทำ อยากจะทำ

อาจารย์ : เรื่องอย่างนี้เราจะเห็นชัดขึ้นเมื่อเราไปเปรียบเทียบกับสิ่งที่ตรงกันข้าม สมมุติว่าทำไม่ได้ สิ่งที่เรารู้สึกต้องทำแล้วทำไม่ได้ อย่างอาตมาก็มีบางอย่างที่รู้สึกว่าต้องทำ ถ้าไม่ได้ทำจะมีความรู้สึกบางอย่าง ในกรณีของเรารู้สึกยังไง 
คุณ ก. : รู้สึกกลัวว่าจะหมดความสำคัญ

อาจารย์ : ถ้ารู้สึกว่าต้องทำ และไม่สามารถทำได้ ความรู้สึกในใจจะเป็นอย่างไร 
คุณ ก. : มีลักษณะที่ว่าเราบอกว่ามันจะเป็นอย่างนี้ แล้วมันเป็นอีกแบบหนึ่ง รู้สึกเสียฟอร์ม

อาจารย์ : เสียกับใคร 
คุณ ก. : ตัวเอง มีความรู้สึกเสียฟอร์ม

อาจารย์ : คนอื่นรู้ไหม 
คุณ ก. : ถ้าเป็นเมื่อก่อนก็อาจจะรู้ เพราะเราจะปล่อยออกมาตัวเบอเริ่ม เวลาพูดก็เหมือนกับว่าเรามั่นใจมากว่ามันเป็นแบบนี้

อาจารย์ : เราโฆษณาชวนเชื่อใช่ไหม 
คุณ ก. : เราก็เชื่อว่ามันเป็นอย่างนั้น บางครั้งก็รู้สึกเหมือนกันว่าเราพูดเกินไปหน่อย พอมันไม่เป็นอย่างนั้นก็เสียฟอร์ม

อาจารย์ : เราพูดเรื่องการที่คนสามไปติดภาพ แล้วภาพนั้นจะเกี่ยวกับคนสำคัญ เช่นพ่อแม่ ซึ่งก็เนื่องจากกลไกป้องกันตนเองที่เรียกว่า "IDENTIFICATION" ภาพเหล่านั้นเป็นอัตลักษณ์ของเราที่จะได้ความประทับใจจากคนที่สำคัญ หวังว่าจะได้ความรัก ซึ่งภาษานพลักษณ์เรียกว่า “หลอกลวง” มันหลอกตัวเองว่านี่คือเรา มันไปหลอกตัวเองว่าภาพเหล่านั้นคือตัวเราใช่ไหม
คุณ ก. : มันจะออกมาเอง อย่างรู้สึกว่าไม่อยากให้อาจารย์เห็นเราเหมือนคนทั่วไป ไม่ได้อยากเป็นคนสำคัญกับคนทั่วไป แต่จะกับคนที่เรารู้สึกดีด้วย มีอะไรพิเศษ รู้สึกเราอยากเป็นอะไรที่เขาระลึกถึง เขาชื่นชม หรือชอบเรา มันออกมาอัตโนมัติ อาจารย์พูดอะไรมาก็มา link เหมือนชมเรา พอรู้ตัวก็ไม่โกรธมัน รู้อยู่ว่ามันเป็นอย่างนี้ ห้ามไม่ได้ ก็รู้ว่ามันมีแล้วปล่อยมัน

อาจารย์ : บางอย่างมันไม่เสียหาย มันตลก ไม่ต้องทำอะไรมัน แต่บางอย่างเสียหายด้วย ก็อาจจะต้องทำอะไร 
คุณ ก. : ก็จะไม่ยอมที่จะปล่อยให้เจอกับสภาพนั้น กลัวว่าถ้าต้องเจอจุดนั้น และจะถึงจุดจบของโลก ของชีวิต ก็จะพยายามต่อ ซึ่งบางครั้งก็สับสนระหว่างความมุ่งมั่นกับความดันทุรัง

อาจารย์ : แล้วการหลอกลวงที่ไปเอาภาพเหล่านั้นมาเป็นตัวเอง คือสับสนระหว่างภาพกับตัวเอง เราเป็นใครกันแน่ อันนี้หลอกลวงซึ่งเป็นกิเลสทางใจ แล้วกิเลสทางหัวของเบอร์สาม 
คุณ ก. : ไม่แน่ใจว่าใช่การถือตัวหรือหยิ่งหรือเปล่า บางทีก็ชอบคิดว่าไม่มีใครทำฉันก็ทำของฉันได้ 
ถ้าเป็นฉันนะ ฉันคงทำได้ดีกว่าพวกเค้าทำแน่ ฉันทำได้

อาจารย์ : พอจะมีตัวอย่าง สมมุติ พอจะทำอย่างนี้ได้ คิดว่ามันต้องทำดีกว่านี้ เก่งกว่านี้ 
คุณ ก. : มีความรู้สึกว่าถ้าไม่ดีขึ้นจะรู้สึกแย่ รู้สึกทนไม่ได้ที่จะอยู่ status นั้น เราต้องดีขึ้นกว่าเดิม ดีขึ้นกว่าเดิม

อาจารย์ : น่าสงสารที่ทำอะไรสำเร็จแล้ว หรือเก่งแล้ว ไม่ค่อยจะพอใจกับผลสำเร็จ ทั้งที่มุ่งมาดผลสำเร็จ 
คุณ ก. : บางทีเป็นความสับสน ถ้ามัวแต่พอใจอยู่ตรงนี้ มันจะกลายเป็นคนที่มาติดอยู่ตรงนี้หรือเปล่า เราควรจะเดินต่อไปนะ

อาจารย์ : มันจะยังเกี่ยวข้องกับความเชื่อพื้นฐานของเบอร์สาม นิสัยที่คนสามไม่ค่อยใส่ใจกับความรู้สึกตัวเอง 
คุณ ก. : ไม่อยากจะเชื่อว่าตัวเองลืมความรู้สึกตัวเองไปได้อย่างไร ได้ความรู้สึกกลับมาแล้วจึงรู้ว่าที่ผ่านมาเราลืมความรู้สึกตัวเอง

อาจารย์ : ชอบทำอะไรสำเร็จแล้วไม่ได้เสวยความสุขตรงนั้น เนื่องจากเชื่อว่าคนไม่ได้รักเรา ชมเรา เพราะเราเป็นคนอย่างนี้ แต่เขาจะชมเพราะการกระทำ เราก็เลยต้องสร้างภาพ ต้องทำสำเร็จให้คนประทับใจ ชีวิตอยู่กับการกระทำและการสร้างภาพของความสำเร็จ เลยไม่รู้จักที่จะหาความสุขจากความสำเร็จ ถ้ารู้จักเสวยความสุขตรงนั้นพอประมาณ มันก็หล่อเลี้ยงชีวิต เราทำงานที่เป็นประโยชน์ก็มีสิทธิจะพอใจ คนสามจะขาดตรงนี้

เราคุยเรื่องฝ่ายกิเลสมาพอสมควร สิ่งที่อยากพูดต่อไปก็คือ สภาพที่จะมีอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสภาพทางใจ เมื่อเรื่องเหล่านี้ที่เราคุย เรื่องหลอกลวง เรื่องภาพลักษณ์ หรือการที่ต้องทำนี่ทำโน่น ไม่รู้จักเสวยความสุข เมื่อสิ่งเหล่านี้ไม่เกิด หรือยังไม่เกิด ใจจะเป็นยังไง 
คุณ ก. : ก็เบา ผ่อนคลาย ไม่ต้องเอาตัวเองไป link กับใคร

อาจารย์ : เราไม่ link กับใคร จะ link กับอะไร
คุณ ก. : ไม่ link กับใคร และ link กับอะไร ก็สบายดี

อาจารย์ : สบายดีแบบไหน อยู่เฉย ๆ ตื่นเต้น มีความสุข อยากเที่ยว อยากฉลองกันใคร ๆ 
คุณ ก. : มันผ่อนคลาย ทุกวันนี้คุณพ่อคุณแม่ไม่อยู่ พี่น้องก็ไปมีครอบครัว ก็แปลกใจ ทำไมรู้สึกเบาลง ก็สบายดี บางครั้งการที่ไม่เป็นคนสำคัญของใครมันก็ดีเหมือนกัน ไม่ถูกคาดหวัง

อาจารย์ : ไม่ไปหาคนใหม่มาแทน 
คุณ ก. : ยังไม่

อาจารย์ : ปกติคนสามทำโน่นทำนี่ ภายนอกดูเหมือนมีพลังมาก มีบางเวลาที่เราสามารถนิ่งได้ แค่ 80 % ก็ใช้ได้ นิ่งทั้งภายในและภายนอก (ใจนิ่ง)ไม่ต้องทำ เมื่อสิ่งที่ผลักดันให้เราทำโน่นทำนี่สงบเป็นยังไง
คุณ ก. : รู้สึกดี อยู่เฉย ๆ ได้ อยู่กับตัวเองได้ มีความสุข ที่ผ่านมาเรามัวทำอะไร สนใจตัวเองมากขึ้น

อาจารย์ : ที่เราสงบนิ่งจะเป็นตัวเองมากกว่าภาพของเราหรือเปล่า 
คุณ ก. : ใช่

อาจารย์ : ตรงนั้นจะพบความรู้สึก.... เมื่อกี้พูดถึงรักตัวเอง ตรงกับคนสามให้กำลังใจตัวเอง และเมื่อต้องการความรักจากคนอื่นมันกระทบความเชื่อมั่น เราคุ้นเคยที่จะเป็นคนเชื่อมั่น แต่พอเรื่องความรักมันเข้ามายุ่งก็ลังเลใจ เขาจะรักเราหรือเปล่า เลยกระทบ 
คุณ ก. : มันดูเหมือนยังคล้ายการให้กำลังใจตัวเองของคนสาม แต่จริง ๆ มันแค่ได้คิดว่าเราไม่สามารถบังคับให้คนอื่นที่ไม่ใช่ตัวเราตอบรับเราอย่างที่เราต้องการ ขอจากตัวเอง เราเป็นผู้ตอบรับเอง เรากำหนดได้ แต่จริง ๆ ความรู้สึกก็ยังคงบอกว่าเราต้องการใครสักคนที่รักและเข้าใจเรา และเราก็รักและเข้าใจเขา

อาจารย์ : เบอร์สามมีภาพ ภาพนั้นกลายเป็นเป้าหมาย และเบอร์สามก็จะพยายามเพื่อไปถึง คนอื่นอาจจะไม่ชอบที่จะเป็นเป้าหมายความพยายามของเรา ถ้าเป็นเบอร์เจ็ดก็คงอึดอัด อาตมาก็ไม่ค่อยอยากเป็นเป้าหมายของใคร 
คุณ ก. : ถูกคนอื่นคาดหวัง พ่อแม่คาดหวังให้เราเป็นอย่างนั้น

อาจารย์ : บางครั้งเบอร์สามคิดเอาเอง 
คุณ ก. : ก็จริง

อาจารย์ : บารมีของคนสามคือ มีความหวังที่ไม่ต้องทำ ทุกอย่างที่เราต้องการมีอยู่แล้ว เป็นความหวังที่มาจากปัจจุบัน มาจากความจริงที่เราไม่ต้องปรุงแต่ง ในความหวังนั้นมันยอมรับความเป็นจริง เช่น พ่อแม่ตายไปแล้ว นั่นเป็นความจริง แต่ของดีของพ่อแม่เรายังจำได้ มันเหลืออยู่ในความจำของเรา ไม่ใช่ตายหายไปเลย การที่พี่น้องไปมีครอบครัวก็ธรรมดาในสังคม คนสมัยก่อนอาจอยู่บ้านเดียวกัน แต่สมัยนี้ไม่เป็นอย่างนั้น OK นี่ก็คือความจริง เราก็อยู่กับมันได้ เรายังพบคุณสมบัติที่ชีวิตเรามีประโยชน์ มีความหมาย มีความสุข เข้าถึงตัวเองมากขึ้น เข้าถึงธรรมมะ
คุณ ก. : เวลาและเหตุการณ์ดำเนินไป โดยเราไม่ต้องไปทำมัน ไปคิดว่า ถ้ามันไม่เป็นอย่างนี้มันล้มเหลว เราก็มีชีวิตอยู่ได้ปกต
ิ 
อาจารย์ : เมื่อกำลังกลัวว่ามันจะล้มเหลว กังวล ปั่นป่วน ก็ยอมรับมันได้ ทำอะไรเท่าที่เราทำได้ 
คุณ ก. : ตรงนี้จะไม่มีภาพของความสำเร็จที่ต้องทำให้ได้

อาจารย์ : คือถ้าฝากชีวิตไว้กับภาพ บางคนคุ้นเคยกับงาน คล้ายกับว่าชีวิตก็คืองาน มีแต่งานอย่างเดียว แต่พอพบว่าชีวิตมีมิติอื่น เรื่องงานมีความสำคัญ แต่มันไม่ใช่ทั้งหมด ครอบครัวมีความสำคัญ แต่ไม่ใช่ทั้งหมด โดยเฉพาะเมื่อพบว่าเราทุกคนมีโลกของเรา ซึ่งในนั้นมีคำตอบที่แน่นอนกว่า 
คุณ ก. : มันอยู่กับตัวเองได้ มีตัวเองเป็นเพื่อน

อาจารย์ : ท่าทีกับสิ่งภายนอกก็จะเปลี่ยนไป เรายังทำงานได้แต่โล่งใจกว่า 
คุณ ก. : รักษาระยะห่างได้ดีขึ้น ไม่มองแบบ เราทำขนาดนี้แล้วยังไม่เห็นเราสำคัญ ไม่สนใจเราเลย

อาจารย์ : จนกว่าตัวตนมันหมด 
คุณ ก. : ค่ะ

อาจารย์ : การทำสิ่งที่ดีมีประโยชน์นั้นดีแน่ แต่ถ้าเริ่มสร้างภาพผู้ประสบความสำเร็จนั่นก็คือมันหลอกตัวเอง 
คุณ ก. : Balance ภาพ

อาจารย์ : เป็นไปได้ไหมที่ไม่ต้องมีภาพ 
คุณ ก. : ก็น่าจะเป็นได้นะ .... .