enneagramthailand.org

เบื้องหลังการปฏิเสธของคน 8

 

บันทึกต่อไปนี้มาจากการไต่สวนสอบทาน

แบบเจาะลึกตัวต่อตัว

ระหว่างอาจารย์นพลักษณ์ กับอาสาสมัครคนลักษณ์ 8 เพื่อเผย

โลกทัศน์ วิธีคิด และ กลไกทางจิตที่มักใช้

“การปฏิเสธ” เป็นเครื่องมือในการป้องกันตนเอง


ผ่านประสบการชีวิตจริงของคุณ “ล” ยอดนัก


สู้ผู้ไม่เคยค้อมหัวให้ใคร


ยอดนักสู้ผู้ไม่เคยค้อมหัวให้ใคร


อาจารย์  : กลไกป้องกันตนเองของคนลักษณ์ 8 คือ การปฏิเสธอยากให้คุณ ล. ช่วยยกตัวอย่างลักษณะที่มันแสดงออกในชีวิตจริง เพื่อเป็นกรณีศึกษา

คุณ ล. : ผมเจอเรื่องที่คนอื่นไม่ทำตามที่แนะนำแต่โยนปัญหามาให้รับผิดชอบ ผมต้องอดทนมาก หลบไปหลายครั้ง ถ้าอยู่ก็จะระเบิดใส่เขา ไม่อยากจะร่วมงานต่อไป รู้สึกว่าไม่มีคุณค่าที่เราจะไปร่วม  นี่เป็นการปฏิเสธคนบางคนหรือเปล่า  ผมจะมีความรู้สึกว่าถ้าหากคนบางคนที่มันใช้ไม่ได้อยู่กับเรา คนคนนี้เหมือนไม่มีอยู่ในโลก  ถึงแม้ว่าจะต้องเกี่ยวข้องด้วยแต่ไม่มีทางที่คนคนนี้กับเราจะมีปฏิสัมพันธ์ที่จะมีพัฒนาการต่อไป เราถือว่าคนคนนี้ไม่มี เหมือนเป็นอากาศธาตุ


อาจารย์  : นี่เป็นการปฏิเสธอย่างหนึ่ง คนที่ทำอะไรที่เราคิดว่าไม่เข้าท่าหรือมันโง่ ใช้ไม่ได้  เราก็ปฏิเสธ เห็นแต่ส่วนที่เขาทำไม่เข้าท่า แต่ส่วนที่เขาทำอาจจะดีบ้าง มักจะมองไม่เห็น

คุณ ล.  :  ส่วนที่เขาทำดีก็เห็น แต่รู้สึกว่าเมื่อเทียบเคียงกันแล้วความเสียหายของมันมากกว่า โดยมวลรวมแล้วมันใช้ไม่ได้  ก็ปล่อยให้เขาดีกับคนอื่นไป


อาจารย์  : มีไหมบางคนที่เรามองว่าโดยรวมใช้ไม่ได้ แต่ทีหลังเรียนรู้ว่ามีบางอย่างที่เราไม่ได้สังเกตุ แล้วทีหลัง เออ! เขาอาจจะใช้ได้มากกว่าที่เราคิด

คุณ ล.  :  เมื่อผมเย็นลง พยายามมองอย่างยุติธรรมกับทั้งสองฝ่าย ไม่ใช่ต้องได้อย่างใจเรา มันก็เห็นหลายด้านของเขา นั่นเป็นเหตุที่ผมยังติดต่อ พยายามจะเข้าไปสัมพันธ์ แล้วมันก็เด้งกลับมาเมื่อเจอเหตุการณ์ซ้ำรอยเดิม ก็ร่วมเท่าที่จะร่วมได้ ยังตั้งใจช่วยเหลืองานของส่วนรวมอยู่


อาจารย์  :  บางช่วงที่สามารถเปิดกว้างและรับมิติของเขาว่ามีหลายมิติ ทั้งที่คิดว่าใช้ไม่ได้กับที่พอจะยอมรับ แต่เมื่อถูกกระทบบางจุดแล้วเด้ง ตรงนั้นสามารถมองเห็นความดีงามที่เขามีอยู่ไหมในเวลานั้น


อาจารย์  :  มันยาก  มันจะเห็นแง่มุมต่าง ๆ เมื่อเราสงบลง


อาจารย์  :  ช่วงที่ถูกกระทบรู้สึกอย่างไร

คุณ ล.  :  ช่วงนั้นก็พยายามจะมีสติรู้เท่าทันว่าเขาไม่ได้เลวถึงขนาดต้องตัดขาดกัน


อาจารย์  :  ต้องถามตัวเอง มีอะไรที่ต้องตัดขาดกัน ปฏิเสธว่าเขาไม่มีอยู่

คุณ ล.  :  ถ้าเป็นสมัยที่ยังแรงมาก ๆ มันก็ต้องจัดการมัน  ตอนนี้ก็ห่างออกมา  ช่วงแรก ๆ ก็คือลบมันไป ถัดมาก็มันยังมีอยู่แต่พยายามห่าง เกี่ยวข้องเท่าที่เกี่ยวข้องได้


อาจารย์ : ไม่ถึงกับปฏิเสธโดยสิ้นเชิง แต่มีแนวโน้มไม่ให้ความสำคัญกับคนนี้ นี่เป็นการปฏิเสธผู้อื่น การปฏิเสธตัวเองมีบ้างไหม

คุณ ล.  :  เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่รู้สึกว่าพลาด...  ยกตัวอย่างลำบาก


อาจารย์ : มีการปฏิเสธมันทำให้จำยาก  คนแปด หลายครั้งที่รู้สึกว่าพลาดมากที่สุดคือทำให้เพื่อนหรือคนที่เขารักเจ็บปวด

คุณ ล.  :  โดยไม่ตั้งใจ


อาจารย์  :  อ้างว่าไม่ตั้งใจ เป็นการปฏิเสธหรือเปล่าไม่ทราบ มันจะเชื่อว่าไม่ตั้งใจ แต่ ...

คุณ ล.  :  ผมพยายามฝึกตัวเองพัฒนาขัดเกลาตัวเอง ให้ก้าวหน้า แต่ถ้าเกิดพลั้งพลาดเป็นอุปสรรคความก้าวหน้าในการพัฒนาทางด้านจิตวิญญาณ

จะรู้สึกเราน่าจะระมัดระวังกว่านี้ น่าจะไม่พลั้งเผลอ ควรมีพัฒนาการตามอายุที่มากขึ้น ถ้าพลั้งเผลอเหมือนตกหลุมที่เราขุด มันจะไปเกี่ยวข้องโน่นเกี่ยวข้องนี่


อาจารย์  :  ไม่ต้องใช้เหตุผลเท่าไร เหตุผลเก็บไว้ก่อน เพราะว่ากลไกป้องกันมันไม่เป็นเหตุผล มันเป็นยุทธศาสตร์ง่าย ๆ ที่มันออกมาทันที  ตกหลุมแล้วท่านรู้สึกอย่างไร

คุณ ล.  :  ความรู้สึกในขณะนั้นมันเคว้งคว้าง มันเจ็บปวด มันสะเทือนใจ แล้วมันก็จะพยายามกลับเข้ามากอยู่ในมุมที่ตัวเองรู้สึกว่าปลอดภัย  อีกวิธีหนึ่งคือหยุดทำอะไรต่าง ๆ ทั้งหมด เหมือนกับพยายามจะฟื้นฟูตัวเองใหม่ พยายามอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่คุ้นเคย หรือไม่ทำอะไรทั้งสิ้น


อาจารย์  :  ขอบคุณมาก กำลังจะใกล้เรื่องที่เราพยายามจะเข้าถึง  มองออกว่ามันมีการปฏิเสธใช่ไหม เมื่อรู้สึกแย่ รู้สึกเคว้งคว้าง ก็จะพยายามถอนออกจากเหตุการณ์นั้นเพื่อไม่รู้สึกอย่างนั้นใช่ไหม

คุณ ล.  :  พยายามที่จะสงบ เหมือนกับพยายามจะ Focus ตัวเอง


อาจารย์  :  เคยสังเกตไหมเมื่อพยายามจะ Focus นั้นใช้วิธีปฏิเสธ เพราะเหตุการณ์ในชีวิตมันมีหลายปัจจัย  ไม่รู้ไม่ชี้เพื่อ Focus

อะไรที่เราควบคุมได้ พอรู้สึกควบคุมได้จะรู้สึกสบายขึ้นใช่ไหม แต่เหตุปัจจัยหลายอย่างที่เป็นทั้งภายนอกและภายในเราเรามองไม่เห็น

เพราะปฏิเสธเลยมองไม่เห็น มันมีอยู่แต่เรามองไม่เห็น  ไม่ใช่เก็บกดแบบเบอร์สอง  มันอยู่ที่นี่แต่มองไม่เห็นเพราะเราต้องการควบคุม

ตรงนี้  ช่วยขยายเรื่องนี้ได้ไหม

คุณ ล.  :  มันเป็นความไม่... คือไม่เห็น ...


อาจารย์  :  มันพูดยาก มันมีอยู่แต่มองไม่เห็น  มีอะไรไหมที่เป็นแบบนี้

คุณ ล.  :  อย่างเรื่องการหายใจ ผมไม่เคยสังเกตุ เพราะไปติดเทคนิควิธีบางอย่าง แต่เมื่อสังเกตมัน มันมีอยู่แล้วแต่ไม่ได้สัมผัสมันเพราะพยายามที่จะจัดการอะไรบางอย่าง การจัดการนั้นมันไปปิดบังสิ่งที่มันมีอยู่


อาจารย์  :  นิสัยการจัดการของเบอร์แปดที่ผมเข้าใจ การจัดการนั้นมันมาจากการปฏิเสธ  เมื่อเราต้องการปฏิเสธบางอย่างเราก็ไปทุ่ม

จัดการอะไรบางอย่างที่เราคิดว่าควบคุมได้  มันมีอะไรอะไรที่กระทบความอ่อนแอหรือเปราะบางเลยปฏิเสธ แล้วเพ่งตรงที่เรามีอำนาจ

หรือคุมได้

คุณ ล.  :  ผมจะอยู่ใต้การปกครองของคนอื่นหรือว่าอยู่ภายใต้การจัดการของคนอื่นไม่ได้ ในชีวิตตั้งแต่เกิดมายังไม่เคยพบคนที่ผมยอมรับได้อย่างเต็มที่ 100 %


อาจารย์  :  แม้แต่ตัวเอง

คุณ ล.  :  ใช่ แม้กระทั่งตัวเองก็รู้สึกว่าไม่ได้อย่างใจตัวเอง  
เมื่อผมเกิดอาการหวั่นไหว ต้องการความเป็นส่วนตัวมันเป็นภาระคนอื่น ผมไม่แตะอะไรเลย บางทีถึงกับไม่ไปตักอาหารทาน ทำแต่เฉพาะสิ่งที่จำเป็นต้องทำเท่านั้น


อาจารย์  :  อาตมาพยายามเจาะเรื่องการปฏิเสธเพราะมันเป็นกลไกประจำเบอร์แปด ถ้าเป็นกรณีลักษณ์อื่นก็จะเจาะกลไกของลักษณ์นั้น

แล้วสาเหตุที่เราจะเข้าถึงกลไกเพราะว่าเป็นวิธีที่ดีกว่าการอนุโลม จะละเอียดกว่าถ้าเราเข้าถึงกลไกป้องกันซึ่งมันออกมาอยู่เรื่อย บางที

มันละเอียดเราไม่ทันสังเกต อย่างอาตมาเบอร์หนื่งสังเกตตัวเอง การที่จะแสดงออกอย่างตรงกันข้าม มันมีอะไรออกมา หลายอย่างจะ

คุมมันไว้ อย่างมีความต้องการก็ต้องคุม อยากทำนี่ก็ต้องคุมไว้ ทำตรงกันข้าม  นี่เป็นเรื่องการภาวนาที่กเราศึกษา เมื่อใดใจสงบ  เราทุก

คนชอบอ้างว่าอยากจะมีสมาธิ แต่พอใจเริ่มสงบ เริ่มมีสมาธิ ก็จะเบี่ยงเบนออกมา

คุณ ล. : ผมจะรู้สึกว่าพลังมันเต็มในสถานการณ์ที่รู้สึกเคว้งคว้างแล้วมันจะเข้าไปสู่มุม แล้วมันจะค่อย ๆ Focus แล้วมันรู้สึกเต็ม พอรู้สึกเต็มก็จะหาโน่นหานี่ที่ แทนที่จะใช้สมาธิตรงนั้นใช้ความสงบตรงนั้นเพื่อพัฒนาต่อไป มันเหมือนกับการปฏิเสธความสงบตรงนั้นเพื่อออกไปทำอย่างอื่นอีก เพื่อถ่ายเทพลังออกมา


อาจารย์  :  น่าสนใจ อันนี้อาจจะหลุดจากเรื่องกลไกนิดหน่อย แต่เนื่องจากศูนย์ท้องมีปัญหาเรื่องหลงลืมตัวเอง ภาวะที่รู้สึกเคว้งคว้าง

อาจจะเป็นเพราะว่าไปยุ่งหลายเรื่องเกินไปจนควบคุมไม่ได้  แล้ว Focus ปฏิเสธอะไรต่ออะไร พอได้กำลัง ก็ออกไปวิ่งเต้นหลายเรื่อง

เกินไปจนเกิดภาวะนั้นอีก เพื่อป้องกันความรู้สึกนั้นก็อาศัยยุทธศาสตร์ที่เราถนัด คือ ปฏิเสธ อย่างน้อยชั่วคราว งานอะไรก็ไม่ตองทำ

ปฏิเสธเพื่อ Focus

คุณ ล.  :  เมื่อ Focus รวมพลังได้แล้วเริ่มชัดมันก็ง่ายที่จะรู้สึกว่า เราจัดการได้ แล้วก็จะปีนขึ้นไปบนเวทีใหม่


อาจารย์ : ปฏิเสธการที่อะไรต่ออะไรมันจัดการไม่ได้ มีแต่ภาพอัตลักษณ์ที่เราหลอกตัวเองว่าเราเป็นผู้ที่จัดการได้

คุณ ล.  :  ใช่  แล้วพอไปเจออะไรบางอย่างเข้ามันก็เตะเราหงายหลังกลับมาอีก


อาจารย์ : จัดการไม่ได้เราก็เสียใจ เพราะว่าถ้าเราไม่มีภาพอย่างนั้นเราคิดว่าเราไม่น่ารัก

คุณ ล.  :  แล้วมันจะเผลอ มันง่ายที่จะเผลอ ทั้ง ๆ ที่พยายามจะเป็นอย่างที่มันน่าจะเป็น


อาจารย์ : อาตมาอยากจะดูต่อไป  เรื่องนี้จะได้ผลดีก็ต้องเข้าถึงกลไกป้องกัน แต่ถ้าเราชัดกับมันแล้วผ่านความเจ็บปวด แล้วเราก็อยู่

ตรงนั้น ที่ตรงกลไกป้องกันคือปฏิเสธ ในสถานการณ์เช่นนั้นท่านรู้สึกเคว้งคว้าง แล้วตามนิสัยของเด็กสิ่งที่จะป้องกันความเจ็บปวดก็คือ

ปฏิเสธอะไรต่ออะไรเพื่อท่านจะมารวมกำลังใหม่ ซึ่งก็กลับมาเป็นเบอร์แปด อาจจะทำท่าเป็นเบอร์ห้าพักหนึ่ง แล้วค่อยออกมาเป็นเบอร์

แปดเหมือนเดิม ก็เรียกว่าไม่ได้พัฒนา  ตรงนั้นถ้าเราไม่ออกมาปฏิเสธอะไรต่ออะไรแล้วจะเป็นอย่างไร  เคยเจอไหมรู้สึกแย่ แต่แทนที่

จะปฏิเสธอยู่กับมัน

คุณ ล.  :  มันจะทำร้ายผู้อื่น


อาจารย์ : คือมันรับไม่ได้ที่จะรู้สึกอย่างนั้น

คุณ ล.  :  ผมรู้สึกว่าการถอยออกมามันเป็นการกลับมาจัดการตัวเอง อีกทางหนึ่งก็เพื่อเราจะไม่ต้องจัดการคนอื่น


อาจารย์ : เข้าใจ แต่พยายามอยู่ในเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับผู้อื่นโดยตรง เมื่อมีความรู้สึกนี้ซึ่งเป็นความเจ็บปวดแบบเบอร์แปด แล้วเราไม่อยาก

จะทำร้ายผู้อื่น อยากให้จินตนาการ มันจะเป็นอย่างไรถ้ารับมันได้ อยู่กับมันแบบไม่ต้องทำอะไร ไม่ต้องปฏิเสธอะไร ไม่ต้องไปทำร้าย

ใครด้วย

คุณ ล.  :  คิดว่ามันจะฝ่าข้ามข้อจำกัดของตัวเองได้ เกิดพัฒนาการที่เป็นพัฒนาการแบบสำคัญ


อาจารย์  :  ไม่ใช่พัฒนาการแบบตั้งใจ คล้ายกับกระโดดไปเลย  ท่านเคยเจอแบบนี้ไหม ท่ามกลางความรู้สึกแย่ท่านก็หลุดออกจากมัน

โดยไม่ต้องใช้วิธีเก็บตัวไม่รู้แบบเบอร์ห้า

คุณ ล.  :  เคย  บางครั้งที่ต้องชั่งใจระหว่างหนีกับสู้ สู้หมายถึงเข้าไปเผชิญสถานการณ์นั้นแล้วทำมัน มันต้องใช้พลังเยอะหน่อย แต่ถ้าทำแล้วโล่ง ถ้าหากหนีต้องใช้เวลานานในการ Focus


อาจารย์ : แล้วตรงนั้นมีเรื่องก้าวร้าวก้าวก่ายเหมือนที่เบอร์แปดมักจะทำหรือไม่

คุณ ล.  :  ไม่


อาจารย์ : คราวนี้ต้องการเน้นสองประเด็น กลไกป้องกันตัวเองเป็นอย่างไร เมื่อสามารถเผชิญสถานการณ์ที่กระทบจุดอ่อนของเราซึ่ง

นพลักษณ์เรียกว่า สิ่งหลีกเลี่ยงสำหรับเบอร์แปดก็คือความอ่อนแอ ความเปราะบาง เมื่อมีอะไรมากระทบตรงนี้ถ้าสามารถรับได้โดย

ไม่ ปฏิเสธจะพบบารมี

คุณ ล.  :  โลกมันจะแจ่มใส


อาจารย์ : มันจะมีสัจจะของมัน

คุณ ล.  :  เราก็ผ่อนคลาย ผมรู้สึกได้ว่ามันหลุดจากความเป็นเรา


อาจารย์ : นี่เป็นอีกแนวหนึ่งที่อยากจะฝากไว้กับพวกเราว่า ถ้าจะพบบารมี วิธีหนึ่งคือตามหาและเห็นรายละเอียดของกลไกป้องกัน แล้ว

พอรู้จักมันก็พอแยกแยะว่ามีบางโอกาสที่มันไม่ทำงาน แนวโน้มที่มันจะทำงานมีอยู่แล้ว แต่ถ้าตรงนั้นมีสติ แทนที่จะปล่อยตามพลังของ

กลไก มันผ่อนคลาย ตรงนั้นจะเป็นโอกาสพบบารมี ทางใจ ทางหัว

ขอบคุณที่เปิดเผยเรื่องราวให้พวกเราได้ศึกษา