เป็นที่รับรู้กันทั่วไปในแวดวงผู้ที่ศึกษานพลักษณ์ หรือ เอ็นเนียแกรม ในประเทศไทยว่า วิทยากรหรือใครก็ตามไม่มีสิทธิ์ที่จะระบุลักษณ์ให้ผู้อื่น แม้ว่าจะสนิทสนมกันหรือรู้จักกันมาดีเพียงใด
เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น .....
เพราะ นพลักษณ์เป็นศาสตร์ที่เน้นการสังเกตตนเอง ว่าแต่ละบุคคลมีพฤติกรรมต่างๆ เนื่องด้วยแรงจูงใจใดเป็นตัวผลักดัน ซึ่งจะสะท้อนถึงกิเลส ความคิดยึดติด การใส่ใจ และโลกทัศน์ของคนแต่ละลักษณ์ ดังนั้นบุคคลอื่นจะสังเกตได้เพียงพฤติกรรมที่แสดงออกภายนอกเท่านั้น ทั้งนี้มีแต่ตนเองเท่านั้นที่จะไตร่ตรองและย้อนนึกไปพิจารณาว่า อะไรเป็นแรงจูงใจที่แท้จริงในแต่ละพฤติกรรมเมื่อผู้นั้นสังเกตและค้นพบแล้วว่าแบบแผน หรือกลไกการทำงานทางจิตของตนเองเป็นเช่นไร แล้วนำไปเทียบเคียงตามทฤษฎีนพลักษณ์ ก็จะสามารถระบุว่าตนเองเป็นลักษณ์ใด ซึ่งการศึกษานพลักษณ์จะนำไปสู่การข้ามพ้น “กับดัก” ที่คนแต่ละลักษณ์มักจะทำโดยไม่รู้ตัว และหลายครั้งสิ่งนั้นเป็นสาเหตุแห่งทุกข์ทั้งกับตนเองและผู้อื่น ซึ่งประเด็นนี้ในแวดวงนพลักษณ์เรียกว่า “การเติบโต” เพราะนพลักษณ์เปรียบเสมือนแผนที่ชีวิต หรือแบบแผนกลไกทางจิตที่อธิบายความเป็นคนได้อย่างลึกซึ้งและซับซ้อน
ซึ่งเมื่อผู้ใดแกะร่องรอยการทำงาน หรือ กลไกทางจิตของตนเองออกในเบื้องต้นแล้ว มักจะนำไปสู่การไขความลับในสิ่งที่ตนเองเป็น รู้สึก และคิด แล้วตอบตนเองไม่ได้มาโดยตลอดได้อย่างแปลกประหลาด เพราะคนในลักษณ์เดียวกันมักจะมีแบบแผนซ้ำๆกัน ซึ่งศาสตร์นี้เป็นศาสตร์โบราณ
และได้ถูกนำมาทดสอบกับคนจำนวนมากในยุคปัจจุบันแล้ว โดยนักจิตวิทยา และครูเอ็นเนียแกรมจำนวนมากในสหรัฐอเมริกา พบว่า “แผนที่ชีวิต” นี้ยังคงใช้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้จะเป็นคนที่มีความแตกต่างทางชาติพันธุ์ และอาชีพ
ในรอบหลายเดือนนี้ มักมีคนเรียบเคียงถามลักษณ์ของผู้นำประเทศ และการวิเคราะห์กันไปต่างๆ ขณะเดียวกันคุณสนธิ ลิ้มทองกุล ก็นำเอ็นเนียแกรมมาวิเคราะห์ผู้นำประเทศด้วยเช่นกัน และค่อนข้างมั่นใจในการวิเคราะห์ของตน โดยคิดว่าตนเองรู้จักคุณทักษิณ เป็นอย่างดีแล้ว
สิ่งที่ผู้ศึกษานพลักษณ์จะทำได้คือ การศึกษาแนวโน้มความเป็นลักษณ์ของผู้อื่นเท่านั้น ซึ่งหากท่านผู้อ่านสนใจ สามารถอ่านได้จากคอลัมน์นี้ฉบับเดือนพฤศจิกายน 2548 ที่ผ่านมา มีการเปรียบเทียบบุคลิกภาพการเป็นผู้นำ 2 ลักษณ์ที่หลายคนวิเคราะห์ว่ามีแนวโน้มเป็นลักษณ์ของท่านผู้นำประเทศ คือ ลักษณ์ 3 (ผู้สร้างภาพ) และ ลักษณ์ 8 (นักต่อสู้) วิถีทางที่ดีที่สุด คือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ต้องเป็นผู้ที่ศึกษาและตอบตนเองให้ได้ว่าตนเป็นลักษณ์ใด ซึ่งจะสามารถนำมาเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ เหตุ ปัจจัย ที่ทำให้ต้องเผชิญหน้ากับปัญหาทุกวันนี้ (ทั้งๆ ที่คิดว่าตนเองทำดีที่สุดแล้ว .... เหมือนกับที่เคยพูดอยู่เสมอมา)
ในชีวิตการทำงาน เราสามารถพบคนทั้ง 9 ลักษณ์ ที่เป็นบุคคลระดับบริหาร หรือเป็นผู้นำองค์กร ซึ่งก็จะมีบุคลิกภาพที่แตกต่างกันไปตามลักษณ์ของตน เพราะมีแรงจูงใจแตกต่างกัน บุคลิกภาพอาจจะดูคล้ายกันมากในบางลักษณ์ ประกอบกับการที่ผู้นำทั้งหลายผ่านประสบการณ์ชีวิตที่จะปรับปรุงตนเอง พัฒนาตนเอง และเลือกใช้เครื่องมือ หรือเทคนิคการบริหารงานที่คล้ายกัน
ในบทความนี้ชี้ให้เห็นถึงความเป็นผู้นำของแต่ละลักษณ์ โดยพิจารณาจากแรงขับที่สำคัญคือ กิเลส และความคิดยึดติดประจำลักษณ์ เป็นหลัก โดยจะเปรียบเทียบให้เห็นจุดแข็ง จุดอ่อน ของภาวะผู้นำของแต่ละลักษณ์ และเปรียบเทียบระหว่างลักษณ์เดียวกันที่ “รู้ตัว” และ “ไม่รู้ตัว”
การ “รู้ตัว” ในที่นี้หมายถึง มีความไวในการสังเกต หรือ ตรวจจับ รับรู้การขับเคลื่อนของกิเลส และความคิดยึดติดประจำลักษณ์ แล้วสามารถข้ามพ้น หรือเท่าทันมัน ไม่ปล่อยให้ตัวเองมีพฤติกรรมไปรับใช้กิเลส หรือ ความคิดยึดติด และกระทำพฤติกรรมต่างๆ ไปตามความใส่ใจประจำลักษณ์ของตนเอง ซึ่งจะนำไปสู่ “ญาณทัศนะ (Holy Idea)” และ “คุณธรรม (Holy Virture)” ประจำลักษณ์
“ญาณทัศนะ” คือ การหยั่งรู้ได้เองถึงปัญหาลึกซึ้งบางประการ ซึ่งไม่สามารถเข้าถึงได้ด้วยความคิด วิเคราะห์ ส่วน “คุณธรรม” คือ การตอบสนองโดยอัตโนมัติซึ่งไม่ถูกกำหนดด้วยความชอบ หรือไม่ชอบส่วนตัว
ความเป็นผู้นำของคน 9 ลักษณ์ที่รู้ตัว มักจะพบคุณค่าประจำลักษณ์ดังนี้
ลักษณ์หนึ่ง |
อุทิศตัวให้กับการทำคุณประโยชน์ เมื่อเชื่อมั่นในความถูกต้อง |
ลักษณ์สอง |
ให้กำลังใจ ช่วยเหลือ สนับสนุน ทำให้คนอื่นมีความรู้สึกดีๆ |
ลักษณ์สาม |
มีความกระตือรือร้นอย่างมากกับงานและเป้าหมายต่างๆใน |
ลักษณ์สี่ |
สร้างบรรยากาศในองค์กรได้ดี เหมาะเป็นพิเศษที่จะทำงาน |
ลักษณ์ห้า |
บริหารด้วยความรู้ ให้ความสำคัญกับข้อมูลและเหตุผล ความสามารถในการลดความข้องเกี่ยวกับอารมณ์ทำให้ |
ลักษณ์หก |
บริหารด้วยความรอบคอบ ป้องกันไว้ก่อน ถือเป็นภาระ |
ลักษณ์เจ็ด |
สร้างสรรค์ ยึดหยุ่น เต็มไปด้วยทางเลือก สามารถเข้า |
ลักษณ์แปด |
มีพรสวรรค์ที่จะผลักดันงานใหญ่ๆ ให้เดินหน้าได้อย่าง |
ลักษณ์เก้า |
สนับสนุนคนอื่นได้อย่างแน่วแน่ และเต็มที่ เพราะไม่มี |