enneagramthailand.org

ศูนย์/ปีก/ลูกศร


การค้นหาศูนย์ประจำตน มนุษย์เรารับรู้และสัมพันธ์สิ่งต่างๆ ต่อโลก 3 ทางด้วยกันคือผ่านทางความคิดความรู้สึกและสัมผัสหรือการกระทำมนุษย์มี 3 ศูนย์หลักในชีวิตอันเป็นที่รับรู้และเป็นแหล่งภูมิปัญญา ซึ่งกับการรับรู้ดังกล่าวจักเชื่อมโยงที่หัว,ใจ,และท้อง คนทุกคนใช้ศูนย์ทั้ง 3 ศูนย์ในการ ดำเนินชีวิตความแตกต่างคือการรับและสนองตอบสิ่งต่างๆ ในโลกจะดำเนินผ่านศูนย์ใดศูนย์หนึ่งเป็นหลักเพียงศูนย์เดียว บางคนรับรู้และมีปฎิกิริยาโดยใช้ศูนย์หัวเป็นหลัก บางคนใช้ศูนย์ใจและบางคนใช้ศูนย์ท้องก่อน จากนั้นจึงอาจรับรู้และมีปฎิกิริยาเกี่ยวเนื่องกับศูนย์อื่นต่อไป ในส่วนนี้มุ่งอธิบายลักษณะหลักของ "ศูนย์" ซึ่งแต่ละศูนย์จะครอบคลุมศูนย์ละ 3 ลักษณ์นั่นคือ ศูนย์หัวครอบคลุมลักษณ์ 5, 6 และ 7 ศูนย์ใจครอบคลุมลักษณ์ 2, 3 และ 4 และศูนย์ท้องครอบคลุมลักษณ์ 8, 9 และ 1

ดังนั้นหากเราสามารถค้นพบว่าเราสังกัดศูนย์ใดใน 3 ศูนย์ ก็จะช่วยให้เราค้นหาลักษณ์ประจำตนได้ง่ายขึ้น แผนภาพของนพลักษณ์แบ่งเป็น 3 ศูนย์ ศูนย์ละ 3 ลักษณ์ซึ่งแต่ละศูนย์มีวิธีการเฉพาะ ในการรับรู้ประสบการณ์ชีวิต รวมถึงอารมณ์ฝ่ายต่ำ (กิเลส)และความยึดมั่นถือมั่นหลักที่เกี่ยวเนื่องกันคนแต่ละลักษณ์ที่อยู่ในศูนย์เดียวกันก็จะใช้ศูนย์นั้นเป็นหลัก ในการตอบสนองต่อสิ่งต่างๆ ภายใต้วิถีเฉพาะของการแสดงออกของแต่ละคนศูนย์หัว ในคนทุกคนศูนย์หัวเป็นตำแหน่งของความคิดคือ การวิเคราะห์แยกแยะ สังเคราะห์ จดจำ การคาดการณ์สภาพความคิดนึกเกี่ยวกับคนอื่นและเหตุการณ์ต่างๆ และการวางแผนการกระทำในอนาคต รวมถึงหมกมุ่นกับอดีตจินตนาการได้รวดเร็ว พวกศูนย์หัว (คนลักษณ์ 5, 6 และ 7 ซึ่งใช้หัวเป็นตัวนำการนึกคิด รู้สึกและกระทำ) มีแนวโน้มที่จะตอบสนองต่อชีวิตผ่านความนึกคิดเขามักมีจินตนาการที่ชัดเจนมีชีวิตชีวาและมีสมรรถภาพสูงในการวิเคราะห์และเชื่อมโยงความคิด ดังเห็นได้ว่าแม้แต่คนในศูนย์นี้ที่ชอบสมาคมกับผู้อื่นมากๆ ก็ยังพึงพอใจอย่างสมบูรณ์ที่จะใช้ ความคิดของตนเป็นเพื่อนฝูง สำหรับกลุ่มนี้การคิดเป็นทางที่จะเก็บกดความกลัวต่อโลกที่คุกคาม แฝงเร้นอยู่ (โดยมากไม่รู้ตัว)

 

ศูนย์ใจ

ในคนทุกคน ศูนย์ใจคือ ที่ ๆ เรารับรู้อารมณ์ซึ่งรับรู้ด้วยอวัจนภาษาที่บอกเราว่ารู้สึกอย่างไร แทนที่เราจะคิดอะไรในเรื่องนั้นๆ อารมณ์ของคน ศูนย์ใจมีตั้งแต่รุนแรง เร้าใจ ไปจนถึงซ่อนเร้นลึกล้ำที่สุดหรือแทบจะไม่รู้สึกเลย เราเมื่ออยู่หรือใช้ศูนย์นี้ จะรู้สึกผูกพันกับคนอื่นๆ แต่ก็ยังถวิลหาความรักและความอิ่มเอิบทางอารมณ์ นี่คือ ศูนย์ใจที่เปิดกว้างในการปฏิบัติทางเมตตากรุณา พวกศูนย์ใจ (คนลักษณ์ 2, 3 และ 4 ซึ่งใช้ใจเป็นตัวนำ) ดำเนินชีวิตด้วยการมีสัมพันธภาพและบางทีเรียกว่า "ประเภทภาพลักษณ์" เพราะมักจะห่วงว่าคนอื่นจะมองและเกี่ยวข้องกับตนอย่างไร  คนในศูนย์นี้มักไวต่อความต้องการหรืออารมณ์ของผู้อื่นและสนองต่ออารมณ์และความต้องการ นั้นทั้งโดยรู้ตัวและไม่รู้ตัว สัมพันธภาพที่ประสบความสำเร็จจะช่วยไม่ให้เกิดความรู้สึกว่างเปล่า และโหยหา อันเป็นลักษณะสำคัญของคนในศูนย์นี้

 

ศูนย์ท้อง (บางทีเรียก ศูนย์ร่างกาย)

ในคนทุกคน ศูนย์ท้องคือ เป็นศูนย์รวมของความรู้ตามสัญชาตญาณของเรา หรือสำนึกของการมีการเป็น ตรงข้ามกับพวกที่ใช้ความคิดและความรู้สึก เราเรียนรู้จักตนเองจาการเชื่อมโยงกับผู้คนและสิ่งแวดล้อมทางกายภาพผ่านศูนย์นี้  เสมือนมีเรดาห์คอยตรวจจับและมีปฎิกิริยาตอบสนองทันที  ศูนย์ท้องเป็นแหล่งของพลังและอำนาจที่จะกระทำสิ่งต่างๆในโลกทางกายภาพ ศูนย์นี้คือบริเวณที่ชาวญี่ปุ่นรู้จักในนาม "ฮารา" และที่ชาวจีนรู้จักในนาม "ตันเฐียร"เขามักมีจินตนาการที่ชัดเจนมีชีวิตชีวาและมีสมรรถภาพสูงในการวิเคราะห์และเชื่อมโยงความคิด  ดังเห็นได้ว่าแม้แต่คนในศูนย์นี้ที่ชอบสมาคมกับผู้อื่นมากๆ ก็ยังพึงพอใจอย่างสมบูรณ์ที่จะใช้ ความคิดของตนเป็นเพื่อนฝูง สำหรับกลุ่มนี้การคิดเป็นทางที่จะเก็บกดความกลัวต่อโลกที่คุกคาม แฝงเร้นอยู่ (โดยมากไม่รู้ตัว) ศูนย์ใจ ในคนทุกคน ศูนย์ใจคือ ที่ ๆ เรารับรู้อารมณ์ซึ่งรับรู้ด้วย อวัจนภาษาที่บอกเราว่ารู้สึกอย่างไร แทนที่เราจะคิดอะไรในเรื่องนั้นๆ อารมณ์ของคน ศูนย์ใจมีตั้งแต่รุนแรง เร้าใจ ไปจนถึงซ่อนเร้นลึกล้ำที่สุดหรือแทบจะไม่รู้สึกเลย เราเมื่ออยู่หรือ ใช้ศูนย์นี้ จะรู้สึกผูกพันกับคนอื่นๆ แต่ก็ยังถวิลหาความรักและความอิ่มเอิบทางอารมณ์ นี่คือ ศูนย์ใจที่เปิดกว้างในการปฏิบัติทางเมตตากรุณา

พวกศูนย์ใจ (คนลักษณ์ 2, 3 และ 4 ซึ่งใช้ใจเป็นตัวนำ) ดำเนินชีวิตด้วยการมีสัมพันธภาพและบางทีเรียกว่า "ประเภทภาพลักษณ์" เพราะมักจะห่วงว่าคนอื่นจะมองและเกี่ยวข้องกับตนอย่างไร คนในศูนย์นี้มักไวต่อความต้องการหรืออารมณ์ของผู้อื่นและสนองต่ออารมณ์และความต้องการนั้นทั้งโดยรู้ตัวและไม่รู้ตัว สัมพันธภาพที่ประสบความสำเร็จจะช่วยไม่ให้เกิดความรู้สึกว่างเปล่า และโหยหาอันเป็นลักษณะสำคัญของคนในศูนย์นี้ศูนย์ท้อง (บางทีเรียก ศูนย์ร่างกาย) ในคนทุกคน ศูนย์ท้องคือเป็นศูนย์รวมของความรู้ตามสัญชาตญาณของเราหรือสำนึกของการมีการเป็น ตรงข้ามกับพวกที่ใช้ความคิดและความรู้สึก เราเรียนรู้จักตนเองจาการเชื่อมโยงกับผู้คนและสิ่ง แวดล้อมทางกายภาพผ่านศูนย์นี้ เสมือนมีเรดาห์คอยตรวจจับและมีปฎิกิริยาตอบสนองทันที

ศูนย์ท้องเป็นแหล่งของพลังและอำนาจที่จะกระทำสิ่งต่างๆในโลกทางกายภาพ ศูนย์นี้คือ บริเวณที่ชาวญี่ปุ่นรู้จักในนาม "ฮารา" และที่ชาวจีนรู้จักในนาม "ตันเฐียร" พวกศูนย์ท้อง (คนลักษณ์ 8, 9 และ 1 ซึ่งใช้สัญชาตญาณเป็นตัวนำ) มีศูนย์รวมที่การมี การเป็น ดำรงคงอยู่ในโลกด้วยการกระทำ  สัญชาตญาณของพวกเขา คือ ต้องทำ และอาจบอกว่าคนในศูนย์นี้ใช้ความรู้สึกตามสัญชาตญาณส่วนลึกเป็นฐานการตัดสินใจหรือการลงมือกระทำ แม้ว่าจะได้คิดอย่างรอบคอบในรายละเอียดแล้วก็ตาม นพลักษณ์ยกให้เป็นพวกหลงลืมตนเอง เพราะพวกเขาอาจไม่รู้ตัวว่า อะไรสำคัญเป็นอันดับต้นๆ ต่อตนเองจริงๆ การเป็นคนกระตือรือร้นในโลกได้รับแรงบันดาลจากความโกรธ ขณะเดียวกันก็ทำให้ความโกรธ บรรเทาลงซึ่งสำหรับคน 1 และคน 9 จะปรากฏในการแสดงออกตรงๆ เป็นครั้งคราวเท่านั้น

 

ปีก :  บุคลิกภาพประกอบในลักษณ์ประจำตัว

บางกรณีผู้ศึกษาอาจรู้สึกว่าเรามีลักษณ์หลายลักษณ์ในตัว ตรงนี้เป็นเรื่องธรรมดาแต่ขอยืนยันว่าแต่ละคนจะมีลักษณ์เดียวและเป็นลักษณ์นั้นตลอดชีวิต แต่ลักษณ์ที่เราเป็นจะเกี่ยวเนื่องกับลักษณ์อื่นอยู่มากพอสมควร ซึ่งเป็นจุดที่น่าสนใจของนพลักษณ์เพราะแสดงถึงความซับซ้อนของมนุษย์เรา บางครั้งผู้ศึกษาจะเห็นว่าบางเวลาเราก็เป็นคนแบบลักษณ์นี้ บางเวลาเราก็เป็นคนในลักษณ์ใกล้เคียงกัน ยกตัวอย่าง บางเวลาเราก็มีนิสัยที่ดูคล้ายคน 7 บางเวลาก็ดูจะเป็นคน 8 อันนี้เป็นปรากฎการณ์ที่อธิบายได้ในเรื่อง "ปีก" ของนพลักษณ์ คือ แต่ละลักษณ์มีปีกอยู่ 2 ข้าง คือ มีลักษณ์อีก 2 แบบขนาบอยู่ซ้ายและขวาตามวงกลมในแผนภาพ  เช่น กรณีเราอยู่ลักษณ์ 1 (คนเนี้ยบ) บุคลิกประกอบของเราจะประกอบด้วยลักษณ์ 9 (ผู้ประสานไมตรี) หรือลักษณ์ 2 (ผู้ให้) หรือกรณีเราอยู่ลักษณ์ 6 (นักปุจฉา) เราอาจมีปีกหนักไปทางลักษณ์ 5 (ผู้สังเกตการณ์) หรือลักษณ์ 7 (นักผจญภัย) โดยเราอาจมีปีกหนักไปทางลักษณ์ใด ลักษณ์หนึ่งหรือได้อิทธิพลทั้ง 2 ลักษณ์หรือไม่ได้อิทธิพลจากทั้ง 2 ปีกก็ได้ แล้วแต่เรื่องราวเฉพาะของเราตัวอย่าง ผู้เข้าอบรมท่านหนึ่งเป็นคน 6 มีบุคลิกภาพหลักคือ ขี้กลัว ฟุ้งซ่าน ชอบซักถามเพื่อความมั่นใจ ความชัดเจน ขณะเดียวกันเขามีปีก 5 ทำให้เขามีนิสัยที่เป็นตัวเขาอีกลักษณะ คือชอบซักถามเพื่อแสวงหาข้อมูลความรู้ ชอบอยู่คนเดียวเพื่อศึกษาหาความรู้ หรือพูดคุยซักถามกับผู้ทรงความรู้ ประสบการณ์  แต่คนนี้ก็จะไม่มีลักษณะแบบคน 5 ในแง่ที่ว่าไม่ได้ให้ความสำคัญเรื่องความเป็นส่วนตัวสูง ตระหนี่เกินเหตุ หรือชอบหลีกเลี่ยงเรื่องอารมณ์ ความรู้สึกเช่นคน 5 ดังนั้นสำหรับผู้ศึกษาลักษณ์ประจำตัว การสังเกตตนเองที่บุคลิกภาพภายนอกเราอาจตัดสินใจ ได้ยากระหว่างลักษณ์หลักและลักษณ์รองซึ่งผสมผสานในตัวเรา ข้อแนะนำคือต้องสังเกตและให้ความสำคัญกับอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิดภายในในส่วนที่เป็นกิเลส หรือความคิดยึดติดตัวหลักที่อยู่ภายในตัวเรา รวมถึงวิธีคิดของตัวเราเองในการมองโลกมองตัวเอง

 

ลูกศร : บุคลิกภาพภายใต้ภาวะเครียดและภาวะมั่นคง

ผู้ศึกษาคงสังเกตในแผนภาพว่าระหว่างลักษณ์แต่ละลักษณ์มีลูกศรเชื่อมโยงกับอีก 2 ลักษณ์ เรื่อง "ลูกศร" ทฤษฎีนพลักษณ์ใช้ลูกศรอธิบายการเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพในยามไม่ปกติของคนในลักษณ์ ต่างๆ ตามปกติแล้วเรามักคิดรู้สึกและกระทำตามนิสัยของลักษณ์ที่เราสังกัดซึ่งมีความเครียดในระดับที่เราทนได้ มีกิเลส มีปัญหาตามปกตินิสัยของคนทั่วๆ ไปที่เรายังไม่ได้พัฒนาตนเองแต่ไม่ถึงขนาดเป็นโรคประสาทหรือบ้าอย่างไรก็ตาม ในบางภาวะคนเราจะพบสภาพการณ์ที่ทำให้เราตึงเครียดมากเป็นพิเศษ ไม่ใช่ความเครียดเล็กน้อยที่เป็นอยู่ทั่วๆ ไปตามชีวิตประจำวันและสิ่งที่ทำให้เราตึงเครียดมากเป็นพิเศษนั้นจะตรงกับจุดอ่อนและปัญหาประจำลักษณ์ของเราเช่น เมื่อคน 7 หมดทางเลือกต้องทำอะไรที่ซ้ำซาก น่าเบื่อ ไม่ชอบจะทำให้คน 7 เครียดเกินปกติหรือ คน 3 เมื่อต้องเผชิญหน้ากับความล้มเหลว หรือที่เขาสร้างภาพความสำเร็จไม่ได้จะเป็นความเครียดพิเศษของเขาเมื่อเรามีความเครียดเป็นพิเศษแบบนี้พฤติกรรมทั้งภายนอกและภายใน แม้แต่วิธีคิดวิธีรู้สึกจะเปลี่ยนแปลงตามลูกศร(สังเกตทิศทางของลูกศรที่วิ่งออกจากลักษณ์ของเรา)เมื่อคน 8 สู้กับเรื่องต่างๆแล้วเจอแต่คนกล่าวโทษว่าก้าวร้าว รุนแรง จนคน 8 เหนื่อย รู้สึกน้อยใจ  เขาจะมีพฤติกรรมคล้ายกับคน 5 คือ เก็บตัวไม่พบใคร มีแต่อ่านหนังสือหรือทำอะไร เพื่อจัดการกับความคิด ความรู้สึกของตนเอง อันนี้ไม่ได้หมายความว่าเขาเปลี่ยนเป็นคน 5 เขายังคงเป็นคน 8 อยู่เพียงแต่คน 8 ที่เครียดจัดจะประพฤติคล้ายคน 5 เมื่อหลุดจากภาวะเครียดหนัก พฤติกรรมจะกลับไปสู่ลักษณ์เดิม

ในยามหรือภาวะตรงข้ามที่เรียกว่าภาวะปลอดโปร่ง มั่นคงปราศจากความเครียด เราจะมีพฤติกรรมความนึกคิดที่เปลี่ยนแปลงไปตามทิศทางทวนลูกศร ตัวอย่าง คน 4 ที่มักอยู่ในโลกภายในเป็นปกตินิสัยของเขา เมื่อเขาหลุดจากความรู้สึกว่าชีวิตขาดอะไรไป ใจของเขาก็จะปลอดโปร่งสบาย ไม่เครียดเลย เขาจะมีพฤติกรรม วิธีคิดคล้ายคน 1 คือ เป็นระเบียบ มีความรับผิดชอบสูง กรณีคน 1 เมื่อหลุดจากกรอบของความถูกต้อง ไม่ถูกต้องที่ทำให้ตนเองเครียดเป็นประจำ เขาจะผ่อนคลาย ขี้เล่น สนุกสนานคล้ายคน 7 โดยยังเป็นคน 1 อยู่แต่เป็นคน 1 ที่มีอะไรคล้ายคน 7  โดยสรุปเราเป็นลักษณ์ใดก็ยังคงเป็นลักษณ์นั้นตลอดไป  เพียงแต่ว่าตามโครงสร้างของลักษณ์เรา พฤติกรรมจะเปลี่ยนแปลงในภาวะตึงเครียดหนักหรือ สบายใจมั่นคงเป็นพิเศษ ตรงนี้จะเข้าใจได้ถ้าหากเราไม่ลืมว่าตามปกติเรามีปัญหาที่เก็บไว้ในใจ จัดการกับความคิดความรู้สึกได้บ้างไม่ได้บ้างลึกๆ ยังมีบาดแผลซึ่งทำให้ลักษณ์ปกติของเราไม่ใช่ภาวะที่ปราศจากปัญหา เพราะที่จริงลักษณ์เป็นเกราะและวิธีที่เราพอจะใช้เพื่อเอาตัวรอด แม้ปัญหาต่างๆ ยังคงอยู่แต่ถ้ามีปัญหาเพิ่มมากขึ้นจนปรับตัวไม่ค่อยได้ พฤติกรรมจึงเปลี่ยนตามทิศทางลูกศร แต่กรณีที่สามารถหลุดจากภาวะปกติจึงจะไปทางตรงข้าม คือ ทวนทิศทางของลูกศร

นอกจากลูกศรจะช่วยให้เราเข้าใจชีวิตของเราในยามที่ไม่ปกติดังกล่าว ยังช่วยเราพิสูจน์ว่าเป็นลักษณ์ไหนแน่ๆ เมื่อเราสามารถแยกแยะระหว่างยามปกติเราเป็นยังไง ยามเครียดจัดเป็นยังไง และยามมั่นคงเป็นพิเศษเป็นยังไง มันจะช่วยพิสูจน์ว่าเราเป็นลักษณ์ไหนโดยง่าย การพิสูจน์อย่างนี้ต้องใช้เวลาสังเกตตนเองในยามภาวะต่างๆ ของชีวิต ผู้ศึกษาไม่ต้องรีบร้อนถือว่าทุกสถานการณ์ ทุกกาลเทศะ เป็นเรื่องที่ต้องเรียนรู้ เมื่อเรามีความเครียดเป็นพิเศษแบบนี้พฤติกรรมทั้งภายนอกและภายใน แม้แต่วิธีคิดวิธีรู้สึกจะเปลี่ยนแปลงตามลูกศร (จงสังเกตทิศทางของลูกศรที่วิ่งออกจากลักษณ์ของเรา) เมื่อคน 8 สู้กับเรื่องต่างๆแล้วเจอแต่คนกล่าวโทษว่าก้าวร้าวรุนแรง จนคน 8 เหนื่อย รู้สึกน้อยใจ เขาจะมีพฤติกรรมคล้ายกับคน 5 คือ เก็บตัวไม่พบใคร มีแต่อ่านหนังสือหรือทำอะไร เพื่อจัดการกับความคิดความรู้สึกของตนเอง อันนี้ไม่ได้หมายความว่าเขาเปลี่ยนเป็นคน 5  เขายังคงเป็นคน 8 อยู่ เพียงแต่คน 8 ที่เครียดจัดจะประพฤติคล้ายคน 5 เมื่อหลุดจากภาวะเครียดหนัก พฤติกรรมจะกลับไปสู่ลักษณ์เดิม ในยามหรือภาวะตรงข้ามที่เรียกว่าภาวะปลอดโปร่ง มั่นคงปราศจากความเครียด  เราจะมีพฤติกรรมความนึกคิดที่เปลี่ยนแปลงไปตามทิศทางทวนลูกศร ตัวอย่าง คน 4 ที่มักอยู่ในโลกภายในเป็นปกตินิสัยของเขา เมื่อเขาหลุดจากความรู้สึกว่าชีวิตขาดอะไรไป  ใจของเขาก็จะปลอดโปร่งสบาย ไม่เครียดเลย เขาจะมีพฤติกรรม วิธีคิดคล้ายคน 1 คือเป็นระเบียบ มีความรับผิดชอบสูง กรณีคน 1 เมื่อหลุดจากกรอบของความถูกต้อง ไม่ถูกต้องที่ทำให้ตนเองเครียดเป็นประจำ เขาจะผ่อนคลาย ขี้เล่น สนุกสนานคล้ายคน 7 โดยยังเป็นคน 1 อยู่แต่เป็นคน 1 ที่มีอะไรคล้ายคน 7 โดยสรุปเราเป็นลักษณ์ใดก็ยังคงเป็นลักษณ์นั้นตลอดไป  เพียงแต่ว่าตามโครงสร้างของลักษณ์เรา พฤติกรรมจะเปลี่ยนแปลง

ในภาวะตึงเครียดหนักหรือสบายใจมั่นคงเป็นพิเศษ ตรงนี้จะเข้าใจได้ถ้าหากเราไม่ลืมว่าตามปกติ เรามีปัญหาที่เก็บไว้ในใจ จัดการกับความคิด ความรู้สึกได้บ้าง ไม่ได้บ้าง ลึกๆ ยังมีบาดแผลซึ่งทำให้ลักษณ์ปกติของเราไม่ใช่ภาวะที่ปราศจากปัญหา  เพราะที่จริงลักษณ์เป็นเกราะและวิธีที่เราพอจะใช้เพื่อเอาตัวรอด แม้ปัญหาต่างๆ ยังคงอยู่  แต่ถ้ามีปัญหาเพิ่มมากขึ้นจนปรับตัวไม่ค่อยได้ พฤติกรรมจึงเปลี่ยนตามทิศทางลูกศร  แต่กรณีที่สามารถหลุดจากภาวะปกติจึงจะไปทางตรงข้ามคือ ทวนทิศทางของลูกศร

นอกจากลูกศรจะช่วยให้เราเข้าใจชีวิตของเราในยามที่ไม่ปกติดังกล่าว ยังช่วยเราพิสูจน์ว่าเป็นลักษณ์ไหนแน่ๆ เมื่อเราสามารถแยกแยะระหว่างยามปกติเราเป็นยังไง ยามเครียดจัดเป็นยังไง และยามมั่นคงเป็นพิเศษเป็นยังไง  มันจะช่วยพิสูจน์ว่าเราเป็นลักษณ์ไหนโดยง่าย การพิสูจน์อย่างนี้ต้องใช้เวลาสังเกตตนเองในยามภาวะต่างๆ ของชีวิต ผู้ศึกษาไม่ต้องรีบร้อน ถือว่าทุกสถานการณ์ ทุกกาลเทศะ เป็นเรื่องที่ต้องเรียนรู้